วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Missä , Mistä ใช้ต่างกันอย่างไร (ตามรูป)

Missä กับ Mistä ใช้ต่างกัน ตามรูป 


การใช้ประโยคคำถาม มิสสะ กับ มิสตะ (ได้กล่าวไปแล้วนั้น) วันนี้เอารูปมายืนยันเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ค่ะ



ง่ายๆ คือ  Missä (เป็นไทยคือ ที่ใหน ) จากภาพแรก จะเป็นการบอกว่า อยู่ในสถานที่นั้นๆ แล้ว เช่น 
Minä olen postissa  ชั้นอยู่ที่ไปรษณีย์ 


ภาษาฟินแลนด์ ง่ายๆ สำหรับมือใหม่

มารู้จัก Is Am Are ในภาษาฟินแลนด์ สำหรับมือใหม่ค่ะ

ก่อนอื่น ป้าลียังไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฟินแลนด์(หรือจะภาษาใหนก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะคะ) 


  แต่ปัญหาสำหรับผู้เรียนภาษาที่สอง หรือ ภาษาที่สาม เป็นเรื่องใหญ่มาก ในช่วงแรกๆ ที่ต้องไปเข้าห้องเรียน เพราะมันจะงง อีรุงตุงนังไปหมด

  ป้าลีก็เลยอยากแชร์เรื่องความไม่เข้าใจในด้านการเรียนภาษาของตัวเองนี่แหละ เผื่อมีใครจะไม่เข้าใจในแบบเดียวกันจะได้มาปรึกษาหารือกันได้  

  อันที่จริงจะเล่าถึง ปัญหาหรือ พวกการตั้งคำถาม  แต่ว่า นึกได้ว่า สำหรับคนใหม่ๆ เลยที่ยังไม่เข้าใจแม้กระทั่ง  ฉัน คือ ?  เธอ เป็น?  อะไรแบบนี้ล่ะนะ ก็เลยเกริ่นนำก่อนนิดนึงดีกว่าเน๊อะ

ถ้ายกตัวอย่างในภาษาอังกฤษเพื่อเปรียบเทียบจะได้ดังนี้ 
(พยายามจะใส่วรรค แต่มันไม่เป็นวรรค ป้าลีแอบเซ็ง)


วิธีเดินเมืองหนาว แต่ไม่หนาว

หนาวขา เวลาเดินเมืองนอก แต่อยากสวย...ทำไงดี มาดูกันค่ะ


หลายครั้งที่ต้องเดินตากหิมะ  แต่อยากใส่ยีนส์ แล้วเลคกิ้งก็เอาไม่อยู่ ทำไงดี

นี่เลยค่ะ... ทำถุงเท้า กันลม  กันหิมะ 




จากรูป ถ้าเราใส่บูทด้านใน ตัวถุงเท้ากันลมก็จะสูงเหนือเข่าไปอีกนะคะ...

อุปกรณ์ ก็คือ ผ้าสีดำด้านนอก ครึ่งเมตร  และ ผ้าขนสัตว์ด้านในค่ะ ครึ่งเมตร  
ซิบแยก สองอันค่ะ ที่เหลือก็เข็มกับด้ายอ่ะนะ 



ทางวิบาก แห่งการรีบออกไปหางานทำในฟินแลนด์

เมื่อเริ่มพูดภาษาได้ ฟังได้ รีบออกไปหางานทำ.... อันนี้เป็นข้อตำหนิ (จริงเหรอป้า?)


จากเพจที่แล้ว ป้าลีทิ้งท้าย ว่า

“ถามว่า แล้วทำใมชั้นจะต้องเรียน วิชาชีพเหมือนป้าด้วยในเมื่อชั้นพูดได้ ฟังได้สื่อสารได้ ชั้นก็ไปหางานทำดีกว่า...


อันนี้ ป้าลีขอตำหนิอย่างรุนแรง... ทำใมน่ะเหรอ”

ทิ้งท้ายไว้แบบนี้จริงๆค่ะ..

“อ้าวทำใม ป้าพูดจาหมาๆ แบบนี้วะ...ก็ในเมื่อมันได้เงินมากกว่าใครจะโง่ไม่เอาวะอีป้า...”

คือ... เราคุยกันเรื่องการเรียนวิชาชีพหลังจากผ่านการเรียนภาษา(ที่สาม)

แล้ว และหลายๆคนกระโดดออกไปหางานทำเลย

เพราะว่าการนั่งเรียนภาษานั้น รัฐบาลฟินแลนด์ซัพพอร์ตเงิน เดือนละประมาณ  800 ยูโรต่อเดือนหลังภาษี

แต่ถ้าออกไปหางานทำ จะได้เงินต่อเดือนมากขึ้นราวๆ หลายร้อยยูโร หลังภาษี


คนก็เลยวิ่งออกไปหางานทำกัน หลังจากเริ่มพูดได้ฟังได้บ้างแล้ว...


ตรงนี้เป็นการสร้างทางวิบาก แก่ตัวเอง



เหตุผลก็เพราะว่า ในยุโรป ไม่ใช่แค่ฟินแลนด์นะคะ ทุกอาชีพ ต้องการใบอนุญาติในสายงานนั้นๆ

แม้กระทั่ง คนงานทำความสะอาดห้องน้ำในโรงเรียนก็ตามคนครัว หรือ คนเฝ้าไข้ คนเลี้ยงเด็ก...ต้องผ่านการเรียนในหลักสูตรวิชาชีพ

 แล้วจบหลักสูตรได้ใบอนุญาติว่าจบวิชาชีพในสายงานนั้นจริงๆ แล้วออกไปทำงาน รายได้ก็จะแตกต่าง


แต่ถ้า คุณพูดได้ ฟังได้ แล้วออกไปหางานทำ โดยที่ไม่มีใบอนุญาติในสายงานนั้นๆ คุณก็จะเป็นได้แค่ แรงงานขั้นต่ำเท่านั้น...แรงมั๊ยคะ? แรงค่ะ แต่ฟังก่อน


ถึงแม้ว่า  คุณจะได้เงินมากกว่าที่รัฐบาลให้ แต่มันก็เพียงแค่ไม่กี่ร้อยยูโรต่อเดือนเท่านั้น

และคุณคิดว่า คุณจะต้องทำงานแบบนั้นไปจนเกษียณ อย่างนั้นเหรอ?

 โดยการกินเงินได้ขั้นต่ำ เนี่ยนะ?

แต่ถ้าคุณทน ทำใจ ไปนั่งเรียนให้จบ (เร็วที่สุด)ตามโปรแกรมที่ป้าลีแนะนำ

คุณจะออกมาทำงานและรายได้จะมากกว่า คนที่ไม่ได้มีใบอนุญาติ (รายได้ต่างกันเกือบสองเท่านะคะ) แหละนี่คือโอกาสชีวิตนะคะ....


(แต่ก็ นะ เว้น ประเภททำงาน พิเศษ ในรูปแบบต่างๆ นะคะ


เช่นงานเป็นลักษณะชั่วคราวที่ถูกการว่าจ้างแบบเฉพาะกิจ

หรือ งานนวด หรือ อื่นๆที่พิเศษๆ ซึ่งอย่าเอามาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ป้าลีกำลังพูดตรงนี้เลย)


และอีกแนวทางหนึ่ง... ในกรณีที่คุณจบ ปริญญาตรี มาจากเมืองไทยแล้วขอให้พิจารณาทางเลือกตรงนี้นิดนะคะ

ในกรณีที่เราไปเดินเรียนภาษาฟินน์ ไปต่อ อัมมัตติ จนจบแล้วออกไปทำงาน... ยังไงซะวุฒิที่ได้ก็คือ “วิชาชีพ”   และนั่นกินเวลา  3-5 ปี

แต่ถ้าคุณจบ ตรีมาแล้ว ป้าลีแนะนำ ให้คุณหาทางไปเรียนต่อ มหาวิทยาลัยในระดับ ป.โท

เพราะว่า มันจะใช้เวลาแค่สองปี หรือ ปีครึ่ง  ก็ได้ วุฒิ ป.โท แต่เป็นหลักสูตรอินเตอร์อ่ะนะ

อ้าว แล้วภาษาอังกฤษหนูห่วยอ่ะป้า... หนุเรียนไม่ได้แน่เลย...

ป้าก็ห่วยค่ะ แต่ของมันเรียนต่อกันได้ ก็ไปหาคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ จบนะ....


ทีนี้ ถ้าเรามองทางเลือกนี้....จะเริ่ดมาก เพราะว่า เราจะใช้เวลาแค่สองปีแค่นั้นเองในการถือวุฒิ ป.โท(จากฟินแลนด์)


ในขณะที่ “วิชาชีพ” มันก็คือ วิชาชีพ มันไม่ใช่ปริญญานะคะ 

และถ้าคุณ จบ ป.โทแล้วออกไปทำงาน หางานทำที่นี่ รายได้ มากกว่า คุณ จบ แค่วิชาชีพแน่นอน...

แล้วทำยังไง... คุณก็ไปเรียนภาษาฟินน์ ตามที่ สนง.แรงงานส่งให้คุณเรียนนั่นแหละ แต่ๆๆๆๆ เรียนให้เร็วที่สุด เช่น หาคลาสเรียนเอง จ่ายเอง ประมาณ 100 ยูโรต่อคอร์ส  
(ถ้าบอกว่าแพง ก็ขอให้คุณจบการอ่านตรงนี้ไว้เท่านี้ค่ะ)  
แล้วเรียนแค่ 3-4 เดือน หรือเทอมเดียวน่ะค่ะ ให้ได้ระดับ ที่ A2 คุณก็สามารถไปขอสอบ อัมมัตติในสาขาที่เรียนไม่ยากมากๆ  ย้ำ นะคะ ว่าที่เรียนง่ายๆ  เช่น ทำอาหาร ทำความสะอาด ดูแลบ้าน หรือ สาขาช่างต่างๆ (ช่างเนี่ย เรียนง่ายสุด ไม่ว่าจะช่างไม้ ช่างตกแต่งภายใน ช่างทาสี ช่างผม ช่างก่อสร้าง หรือ งานเสื้อผ้า ฯลฯ) 

ทำใม.. เพราะว่า พอมันเรียนง่าย คุณก็เรียนบ้าง โดดบ้าง เพื่อแพลนตัวเองไปเรียนภาษาอังกฤษ และเตรียมตัวสอบเข้า ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ตามที่คุณตั้งใจ... ตรงนี้ เด็กเรียนระดับนี้ จะเข้าใจว่าป้าลีพูดอะไร  ... พอเรียนภาษาในระยะเวลาอันสั้น แล้วไปต่ออัมมัตติที่ง่ายๆ คุณก็ยังคงกินเงิน เดือน ละ 800 ยูโร ตามที่กล่าวมา ทุกประการ ใช่ป่ะค่ะ... แต่คุณก็เอาเวลาไปเตรียมตัวเองเพื่อการเรียนต่อ  แปลว่าต้องขยันมากกว่า คนปกติ (แหงๆ แหละนะ )


และตรงนี้มันเป็นทุนติดตัวค่ะวันหน้าชีวิตจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

แต่ความมั่นคงในตัวเองเกิดค่ะ ดีกว่าเกิดความผิดพลาด

(เช่น หย่า)แล้วหาทางเดินให้ตัวเองไม่เจอ หรือ... ภาวะวิกฤตต่างๆ ในชีวิต


ถามว่า เรียนยากมั๊ย... ยากค่ะ... แต่มันก็ไม่เคยมีอะไรที่ได้มาง่ายๆ ไม่ใช่เหรอคะ? ตอนที่คุณจบ ป.ตรีมา คุณก็รู้ว่ามันก็ยาก ใช่มั๊ยคะ

แต่ของที่ยากคนก็ยิ่งคว้าตรงนั้นยาก  นั่นก็แปลว่า ไม่มีคู่แข่ง และไม่เห็นจะต้องไปเดินแข่งกับใครด้วย 

แข่งมันกับตัวเองนี่แหละ


แล้วเงินล่ะป้า?  หนูว่า ไปเรียน ภาษาฟินน์ ได้เงินมากกว่านะ ตั้งแปดร้อยยูโรแน่ะ...

ตอบ.   จริงค่ะ...  แต่แปดร้อยตรงนั้น มันจะได้แค่ สองร้อยวันทำการแรกแค่นั้นเอง(จากนั้นเงินจะลดลงนิดหน่อย ไม่เยอะ เหลือประมาณ 690 ยูโร)....คุณก็หาทางไป เดินวนๆ ในสายเรียนง่ายๆ ที่ป้าแนะนำเพื่อกินเงินตรงนี้ต่อไป เพื่อช่วยผยุงตัวเองให้แพลนไปต่อระดับที่สูงขึ้นให้ได้

แล้วการที่คุณจบป.โท แล้วไปทำงาน ตลอดชีวิตน่ะ ได้เงินมากกว่ากันเท่าไหร่?

ตรงนี้ชัดเจนมากๆ นะคะ แต่หลายคน ไม่อยากทำเพราะว่า บอกว่า ภาษาไม่ถึง


ก็อย่างที่บอก  ตอนไปเรียน ภาษาฟินน์ก็เรียน ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วยก็ได้ไม่ใช่เหรอคะ?

ครึ่งวันเรียนอีกอย่าง และอีกครึ่งวันก็เรียน อีกอย่าง ประมาณ สี่หรือ ห้าเดือน ก็ได้ภาษาแล้วอ่ะ....


ยอมเหนื่อยแบบนี้ ดีกว่า ไปเหนื่อยทำงานแบบกินเงินค่าแรงขั้นต่ำไปตลอดชีวิต นาาาาา ป้าว่า....


สวัสดิการเรื่องเรียน เป็นการกินเงินเกล่า(ไม่ใช่เตื้อ) นะคะ 290 ยูโรต่อเดือนโดยประมาณแต่ของ เตื้อฯ หรือ เตเอ เนี่ย คือเงินซัพพอร์ตต่างชาติ (ซัพพอร์ตในหลายรูปแบบนะคะ ไม่ใช่แค่ไปเรียนภาษาฟินน์ ตามที่เราเข้าใจแล้วนะ  ตรงนี้จะบอกอีกที เพราะมันขั้นถัดไป สำหรับ ผู้ประกอบการด้านธุรกิจต่างๆ)

ต่างกันเกินครึ่ง แต่ว่า สามารถ กู้เงินเรียนได้(อันที่จริงเค้าไม่ได้บังคับว่าต้องจ่ายคืนให้หมดภายในเมื่อไหร่ ก็หลายๆ ปีแหละจากที่เรียนจบ) 

หรือจะไม่อยากกู้ก็ได้  ก็ใช้วิธีขอกินเงินตกงาน ตามที่แนะนำข้างบนนั้นแหละ ว่าไปเรียนสองที่... เคนะคะ

ป้าลีก็ปรึกษาเตเอแบบนี้แหละค่ะ แต่ว่า เตื้อแนะนำให้ใช้เงินสนับสนุน

ด้านอื่นอีกตรงนี้ยกไปป้ายหน้าแล้วกันค่ะ 



ติดตามอ่านชีวิตฟินแลนด์ ได้ที่ บล็อคแก๊งค์นะคะ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=leejayfinland&month=01-02-2014&group=18&gblog=22