จับผู้ชาย ตอน ทำความรู้จักหนุ่มฟินนิช(ฟินแลนด์)
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า การจะเข้าอยู่ฟินแลนด์ได้นั้นต้องทำอย่างไร
ก็ต้องมีวีซ่า.. (อ้าวอีป้านี่ กวนหรือเปล่าฟวะเฮ้ย มันก็ต้องมีวีซ่าสิถึงจะเหยียบประเทศเค้าได้)
จะบอกว่า วีซ่ามันมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ
วีซ่านักเรียน
วีซ่าท่องเที่ยว
วีซ่าทำงาน (เวิร์คเปอมิท)
วีซ่าติดตามสามี(แต่งงานแล้วขอเรสซิเด้นซ์เปอมิทจากเมืองไทย)
วีซ่าในเขตเชงเก้น(ป้าลีใช้วีซ่านี้เข้าประเทศฟินแลนด์ เรียกว่า การ์ดเดอ เซจู จากฝรั่งเศส เป็นวีซ่าถาวรอีกตัวหนึ่ง)
(มีวีซ่าอื่นอีก เช่นขอลี้ภัย หรือไรงั้นป้าลีขอผ่านนะคะ เพราะความรู้ไม่พอ)
แล้วในผลประโยชน์สวัสดิการของวีซ่าในการอยู่ถาวรนั้นก็แตกต่างกันออกไป (วีซ่าท่องเที่ยวไม่เรียกว่าถาวรนะคะเพราะอยู่ได้ไม่เกิน เก้าสิบวันในรอบครึ่งปี..งงมะ)
แล้วเดี๋ยวเราค่อยมาลงรายละเอียดวีซ่าก็แล้วกันนะคะ ว่าสิทธต่างๆที่จะได้รับนั้นไม่เหมือนกันอย่างไร
ถ้าเป้าหมายของเราคือ วีซ่าครอบครัว ก็ต้อง “จับหนุ่ม” ให้ได้เสียก่อน.... มาดูกัน... จับหนุ่มฟินแลนด์นั้นยากหรือง่ายประการใด
ข้อแรก... เมื่อได้รู้จักหนุ่มแล้ว(ไม่ว่าจะเดินชนกัน หรือ หรือเพื่อนร่วมงานหรือ มาจากเว็บแชทต่างๆ ก็แล้วแต่แหละ เพราะไงก็ต้องมาทำความรู้จักกันก่อนอยู่ดี)
(รู้สึกว่าจะอ่านยาก... ไปอ่านที่ต้นฉบับแล้วกันนะคะ...คือที่ป้าลีก็อปมาเพราะว่า ในนี้มันจะเสิรชหาง่ายมากกว่า ที่บล็อคแก๊งค์)
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=leejayfinland&month=22-11-2013&group=34&gblog=4
หนุ่มฟินแลนด์ ชอบกินชาเย็น...
เคยได้ชินมั๊ยคะ ที่เค้าเรียกว่า ไอซ์แมน ก็คือหนุ่มจากเมืองน้ำแข็งนี่แหละ แข็ง ทื่อ ไม่ยิ้ม หน้าจืดๆ พูดน้อย บางครั้งออกแนวเฉยๆ บางครั้งเล่นมุกไปแล้วฮีไปขำเอาวันถัดไปก็มี แต่พอได้รู้จักแล้ว นิสัยของหนุ่มจากเมืองน้ำแข็งไม่เป็นอย่างภาพครั้งแรกที่เห็นเลยอาจติ๊งต้อง หรือฮาไร้สาระมากกว่าที่คุณคิดเสียอีก
เค้าไม่ใช่คนสังคมจ๋า เพราะมาจากประเทศที่เงียบๆ สงบๆ คนน้อย สังคมของเค้าต่างคนต่างอยู่เป็นหลัก
ดังนั้นสาวๆ ต้องระมัดระวังเรื่องการโชว์ภาพพจน์ คุณหนูสังคมจ๋าบ้าแบรนด์เนม แคมเปนเที่ยวทั้งปี
หรืออะไรเทือกนั้นของคุณให้ดี เพราะเค้าอาจคิดว่าคุณนั้นแตกต่างกันจนไม่อาจสานต่อความสัมพันธ์กับคุณเลยก็ได้(แถมไม่อธิบายด้วยนะว่าทำใม ก็แค่ปล่อยให้คุณงงต่อไปก็เท่านั้นเอง)
อ่านต่อ คลิก
หนุ่มจากเมืองน้ำแข็งค่อนข้างประหยัด สังคมที่นี่ค่อนข้างประหยัด เค้าจะไม่ใช้จ่ายเงินทองสุรุ่ยสุร่าย(เว้นเรื่องเมาในบางราย) นานๆทีจะได้เห็นคนฟินแลนด์ใช้จ่ายเงินทองแบบบ้าคลั่ง
หนุ่มที่นี่ให้ความสำคัญกับครอบครัวสุดๆ เป็นคนจริงจัง คบกันต้องเน้นความโปร่งใส ไม่คลุมเคลือไม่ผลุบๆโผล่ๆ
เค้าเป็นคนง่ายๆ ยังไงก็ได้ ไม่เรื่องมาก อยู่ง่ายกินง่าย ไม่ต้องคอยเอาอกเอาใจมากมายดุจดั่งซีซ่าร์เพราะเค้าถือว่า ทุกคนเสมอภาค มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกอย่าง เรามีไรต้องพูดออกไปตรงๆไม่ต้องไปอ้อมสามกิโลแม้วก่อนแล้วค่อยกลับเข้าสู่ประเด็น
เช่น... ถ้าเค้านัดเดท แล้วเราไม่มีเงินจะลงทุนไปกับเดทนั้นๆ แล้วเราบอกไปว่าชั้นไม่มีเงินค่าแท็กซี่หรอกนะ ค่ารถไฟหรอกนะ.. แล้วเค้าจะถามว่าเท่าไหร่..คุณอาจจะบอกไปว่า 255บาท..แล้วเค้าก็จะให้เงินคุณมาค่าแท็กซี่ 255บาทเป๊ะๆ ไม่ตกไม่หล่น ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะเค้าเป็นกันแบบนั้นจริงๆตรงๆ ทื่อๆ แบบฉบับเค้าล่ะ (อันนี้แค่ยกตัวอย่างนะคะ)
หนุ่มเมืองน้ำแข็ง หลายคนทีเดียวไม่ชอบผู้หญิงแต่งหน้าจัด (ที่เห็นและรู้จักเป็นแบบนี้กันทั้งนั้น) แต่ไม่ใช่ปล่อยตัวเป็นยัยเพิ้งนะคะ แต่งเอาแค่พอดีๆเสื้อผ้าไม่ต้องแฟชั่นจ๋า ลิเกมาเลยอันนั้นฝรั่งไม่ค่อยชอบนะ จะชาติใหนก็เถอะ
เพราะว่าฟินแลนด์นั้นเค้าเป็นเมืองหนาว เสื้อผ้าจะเป็นสีพื้นๆกันเป็นหลัก(สายตาเค้าจะชินแบบนั้น)
ยิ่งไปเดินในเมืองเฮลซิงกิในหน้าหนาวนะคะ จะมีแค่ดำกันเกือบทั้งเมืองเลยทีเดียวดังนั้นเสื้อผ้าหน้าผมให้มันธรรมดาๆ เอาไว้ก่อน ในช่วงแรกๆ แต่อย่าให้เชยๆ เป็นพอ (เอาไว้เค้าตกเป็นของเราก่อนแล้วค่อยว่ากันอิอิ)
หนุ่มเมืองน้ำแข็งขี้อาย จริงค่ะ ภายในหนังหน้าที่กินชาเย็นของเค้านั้น ลึกๆเค้าขี้อาย ขี้เขินต้องทำตัวนิ่งๆเอาไว้ก่อนในสเต็บแรก ดังนั้น ญ ไทยใจงาม ต้องลุยค่ะ (อันนี้แม่ไม่ได้สอนมาค่ะ...แต่ป้าลีสอนเอง)
สาวๆฟินแลนด์ หลายครั้งที่ป้าลีเห็นในบาร์ (บาร์ในที่นี่ก็คือ ร้านขายเบียร์ที่เรียกกันว่าบาร์ไม่มีหญิงบาร์มานั่งเสิรฟเบียร์ หรือ สาวๆ มาแด๊นซ์บนโต๊ะให้เราเห็นนะคะ) ดังนั้นบาร์ในที่นี่ก็คือแหล่งที่ทั้งชายและหญิงจะไปนั่งจ๋อกันหลังเลิกงานหรือไรแบบนั้น
สาวๆ ฟินน์ เวลาเค้าชอบใคร เค้าจะเปิดเผยชัดเจน วิ่งตรงไปยังเป้าหมายแล้วทักทายได้เลย ไม่มานั่งจ้องตากันเกินสองนานค่ะ จ้องนานที่หนึ่งถ้าฝ่ายชายจ้องตอบ เค้าก็เตรียมพร้อมขยับในนานที่สองแล้วค่ะไม่เหมือนเราๆ ที่จ้องกันไปมา จนเลยเที่ยงคืนนั่นแหละ ถึงกระดึ๊บไปขอแลกเบอร์โทรหรือเฟซบุ๊ค
(สาวฟินแลนด์ถ้าไม่ชอบใครเค้าก็จะเปิดเผยเช่นกัน เช่นอาจไล่ผู้ชายเอาซึ่งๆหน้าก็ได้ถ้าเค้าไม่ชอบ)
ดังนั้นเวลาที่สาวไทย ใจงาม อะลุ่มอะล่วย ยิ้มสยามเพราะแม่สอนมานั้นบางครั้งใช้การไม่ได้สำหรับที่นี่ เพราะผู้ชายไม่เข้าใจ เช่นเค้าถามมาแล้วเราตอบไปถามมาอีก ตอบไปอีกโต้ตอบกันอยู่แบบนั้น ฝ่ายชายเค้าจะนึกว่าเราเองก็สนใจเค้าเพราะเราหน้ายิ้มๆ ไง
ดังนั้นถ้าไม่ชอบใจใครอย่าไปสบตาหรือยิ้มให้เด็ดขาดแต่ถ้าชอบใจ เดินหน้าลุยโล้ด
ป้าลีให้ทริคไปสามสเต็บ
หนึ่ง สบตาห้าวินาทีแล้วยิ้มให้ก่อน(อย่านานกว่าห้าวินาทีนะคะ)
สเต็บสอง หลบตาประมาณ สิบนาทีหรือมากกว่าแล้วค่อยหันไปยิ้มใหม่ ห้ามนั่งจ้องจนกระทั่งเค้าหันมาเด็ดขาด ให้คอยสังเกตุว่าสิบนาทีแล้วและเค้าเริ่มจะหันมาค่อยแกล้งหันไปยิ้มแบบว่า อุ๊ยหันมาชนกันอีกแระไรงั้น
สเต็บสาม เมื่อแกล้งยิ้มให้ก็แล้ว หลายรอบแล้วแต่ฮีก็ยังไม่เข้าใกล้เรา ตรงนี้ดูให้แน่ใจว่า เค้าไม่ใส่แหวนแต่งงานและท่าทางเปิดประตูให้เราด้วยก็เตรียมยกขันหมาก เอ๊ย ยกทัพเข้าไปทักทันที เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายโล้ด ก็มีแค่ “ได้” กับ “อด” แค่นั้นเองไง)
ฟินแลนด์เป็นดินแดนแห่งการศึกษา เรียนฟรี และเสรีภาพ ดังนั้น ผู้ชายประเทศนี้ จะเรียนจบขั้นใหนนั้นเค้าไม่ได้ให้ความสำคัญแบบที่เราเข้าใจ อยู่ที่ว่าเค้าเรียนสาขาอะไรและไปทำงานอะไรมากกว่า บ้านเราต้องเน้นว่าโท หรือ เอก ก็แยกชัดเจนลงไป หรืออนุปริญญา ไรแบบนั้น แต่ฟินแลนด์เค้าไม่เป็นแบบนั้นซะทีเดียว
เพราะเค้าได้รายได้ตามแต่สาขาที่เล่าเรียน เช่น พนักงานดับเพลิงของฟินแลนด์ เค้าทำงานเหมือนตำรวจ บวก กู้ภัย บวก พยาบาล และ อีกหลายๆ บวก ดังนั้นเค้าจะมีรายได้จากหลายๆสาขาที่เค้ามีนั่นแหละ ไม่ได้นับว่าคนนี้จบตรี เอาไปเท่านี้ หรือ จบ ปวส.เอาไปแค่นั้น อะไรประมาณนั้นน่ะค่ะ (เว้นพวกอาชีพชัดเจนนะคะ เช่น หมอ หรือ ดร. สาขาไรก็ตาม หรือ วิดวะ หรือนักกฏหมาย ทนายความ ไรแบบนั้นแหละ)
ตรงนี้จะเห็นได้ชัดกับอีก หลายๆ อาชีพนะคะ เช่น คนขับแท็กซี่ หรือ คนขับรถเมล์เค้าจะต้องถูกเทรนมาโดยเฉพาะนะคะ หรือ กุ๊กที่ทำอาหาร พวกนี้รายได้ขึ้นอยู่กับไลเซ่นด้วยนะคะไม่ใช่ไปไล่ว่าจบ ม.หก หรือ ปวส. หรือ ปริญญาโทและอีกหลายประเทศเป็นแบบนี้เช่นกัน(ตรงนี้อยากเล่าให้ชัดเจนค่ะ เพราะบางครั้งเวลาเราไปหลงผิดเรื่องการดูโปรไฟล์ของหนุ่ม แล้วร้องยี๋เรื่องวุฒิการศึกษาของเค้าอันนี้ป้าลีไม่เห็นด้วยอย่างแรง)
ป.ล.เรื่องรายได้กับวุฒิการศึกษาของฟินแลนด์จะไปลงรายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาอีกทีนะคะ
เมื่อรู้จักกันขั้นต้นแล้วเราจะได้ทำตัวถูกจังหวะจะโคน เพราะถ้าไปแด๊นซ์ผิดจังหวะ มันก็ตลกได้นะจะบอกให้
........................................................................................
ปัญหาเรื่องลูกเก่าเมียเก่าของหนุ่มฟินแลนด์ เชิญทางนี้ค่ะ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=leejayfinland&date=26-11-2013&group=34&gblog=7
วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การใช้ Perfekti ในภาษาฟินแลนด์
แวะดูต้นฉบับที่
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=leejayfinland&date=25-11-2014&group=38&gblog=18
(กรณีที่คุณคือมือใหม่มากๆ ไม่รู้จัก กฏ k-p-t หรือ a o u ให้กลับไปอ่านเพจก่อนหน้านี้นะคะ ไม่งั้นจะงงกับ เรื่อง กาล ต่างๆ )
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=leejayfinland&date=25-11-2014&group=38&gblog=18
(กรณีที่คุณคือมือใหม่มากๆ ไม่รู้จัก กฏ k-p-t หรือ a o u ให้กลับไปอ่านเพจก่อนหน้านี้นะคะ ไม่งั้นจะงงกับ เรื่อง กาล ต่างๆ )
Perfekti
ก็คือ การทำอะไรบางอย่างในอดีตที่ยังมีผลต่อเนื่องถึงปัจจุบัน เช่น การอยู่อาศัย... (การกินข้าวเมื่อเช้านี้ ไม่เป็น เปอเฟคติ เพราะว่า "กิน" ได้จบไปแล้ว คือ กินเสร็จแล้ว)
กฏการใช้ คือ 

ก็คือ ถ้าคำ กริยา นั้นๆ ใช้กับ บุคคล คนเดียว( ฉัน,คุณ,เขา) ให้เอา -nut หรือ -nyt ต่อท้ายได้เลย (ใช้ nut หรือ nyt ตามกฏ A O U ค่ะ. ถ้าไม่รู้กฏ อา โอ อู เปิดซ้ายมือที่ป้าลีเคยเขียนเอาไว้แล้วค่ะ)
และ ถ้าคำ กริยา นั้นๆ ใช้กับ บุคคล หลายคน เช่น พวกเรา พวกเขา พวกคุณ ให้เอา -neet ต่อท้ายได้เลย ตามรูปเลยค่ะ... ไม่ยากเน๊อะ
เรือง Partitiivi ภาษาฟินแลนด์
จากต้นฉบับที่
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=leejayfinland&date=17-02-2014&group=38&gblog=11
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=leejayfinland&date=17-02-2014&group=38&gblog=11
เข้าสู่ บทยากแล้วนะคะ ในบทนี้เป็นการเปลี่ยนรูปคำ... จากหนึ่งให้กลายเป็น สอง หรือ ให้กลายเป็น สิ่งที่นับไม่ได้ หรือ ไม่นับเป็นจำนวน
เช่น การเล่นกีต้า การเล่นเป็นคำที่เรานับไม่ได้ เพราะโดยปกติแล้วไม่ใส่จำนวนในการเล่น ดังนั้น คำว่า เล่น แบบนี้ เราจะทำเป็น partitiivi โดยการผันรูป

จากรูปจะมีกฏง่ายๆ อยู่ 4 หลักนะคะ คือ
1.ถ้าคำๆ นั้น ลงท้ายด้วย สระ 1 ตัว ให้ใส่ a/ä เข้าไปท้ายคำ เช่น talo เป็น taloa (ไม่ใส่ ä เพราะว่า คำว่า ta lo ดูสระแล้ว อยู่ในกฏ a-o-u ก็เลยใส่ a )
คำถามต่างๆ ในภาษาฟินแลนด์
และเรื่องถัดไปอยากเล่าถึง การขับรถในฟินแลนด์กับเรื่องเกี่ยวกับระบบการศึกษาของฟินแลนด์(แบบลึกที่สัมผัสเองและโรงเรียนของลูกสาว 8 ขวบ)
ตามลิ้งค์เลยนะจ๊ะ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=leejayfinland&date=27-09-2014&group=38&gblog=13
ตามลิ้งค์เลยนะจ๊ะ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=leejayfinland&date=27-09-2014&group=38&gblog=13
verb to have ในภาษาฟินแลนด์ค่ะ (ฉันมี เธอมี หล่อนมี ฯลฯ)
จากหลายๆ เพจที่เรากล่าวในปัญหาภาษาฟินน์นั้น เราได้กล่าว
ถัดมาก็มารู้ partitiivi คือ ทำให้เป็นหลายจำนวน นั่นเอง
เรื่องบุคคล (ฉัน คุณ หล่อน พวกเรา พวกคุณ และ พวกเขา)
คำกริยาช่วย ก็คือ ole- (ละไว้เพื่อให้ใส่ คำลงท้ายที่เป็นเจ้าของคำค่ะ เช่น ฉันก็ใส่ n กลายเป็น olen)
เรื่อง ของกริยาแท้ เช่น การเดิน การ อ่าน การพูด หรือ การกระทำ ทุกอย่างน่ะค่ะ เรียกว่า คำกริยา
ถัดมาก็มารู้ partitiivi คือ ทำให้เป็นหลายจำนวน นั่นเอง
ทีนี้ มาดู ว่า "การมี" หรือ verb to have ใน ภาษาฟินน์นั้น ยากจริงๆ หรือ
ในรูปซ้ายมือแรกเลยนะคะ จะแสดงความเป็นเจ้าด้วยตัวบุคคลก่อน ว่า เป็น ฉัน หรือ คุณ ที่มี... เพราะว่า เรารู้แล้วว่า ถ้าเป็นฉัน ก็คือต้อง เป็น minu- (ละไว้อีกเช่นกัน)
ถ้าบอกว่า ฉันมี ก็คือ มินูล ล่ะ ออน minulla on ............. (ฉันมีอะไรก็ใส่ลงไปนะคะ เช่น มี รถ ก็คือ minulla on auto)
กฏ K-P-T (กฏ โก เป เต ในภาษาฟินน์)
ตามอ่านเรื่องปัญหาของภาษาฟินแลนด์ เรื่องอื่นๆ ดังนี้นะคะ
(ภาพนี้เป็น เบี้องต้นก่อนนะคะ ที่จริง จะมีคำเพิ่มมากกว่านี้อีกนิดหน่อย แต่ใช้ภาพนี้ก่อน เพื่อ มือใหม่จะได้ไม่งง)
(ภาพนี้เป็น เบี้องต้นก่อนนะคะ ที่จริง จะมีคำเพิ่มมากกว่านี้อีกนิดหน่อย แต่ใช้ภาพนี้ก่อน เพื่อ มือใหม่จะได้ไม่งง)
ยกเว้น คำ sk,st,tk นะคะ อันนี้ไม่ต้องเปลี่ยนค่ะ และ ตารางนี้จำเป็นต้องท่องนะคะ ถ้าไม่งั้นจำไม่ได้และจะงงมาก
กฏนี้มีไว้ ทำใม?
ตอบ มีไว้เปลี่ยนคำๆ หนึ่ง เพื่อระบุ เหตุการณ์ หรือ สถานะ ต่างๆ
(ภาษาอังกฤษ คือการระบุ past ต่างๆ และถ้าใครเรียนภาษาอังกฤษมาจะรู้ว่า ในแต่ละพาสนั้น คำกริยาจะถูกเปลี่ยนไป ในช่องหนึ่ง หรือ สอง ประมาณนั้นนะคะ เพื่อให้รุ้ว่า มันเป็นเหตุการณ์ในปัจจุบัน หรือ เหตุการณ์นั้นๆ ได้ผ่านไปแล้ว เรียกว่า Tense น่ะค่ะ )
และ ในภาษาฟินน์ จะเปลี่ยนคำต่างๆ เมื่อขึ้นอยู่กับ บุคคลด้วยเช่นกัน
เช่น ฉัน คุณ เธอ เขา พวกเรา และ พวกคุณ (คล้ายๆ ภาษาอังกฤษเน๊อะ) ตัวอย่างมา...
ตามตารางข้างบนค่ะ | kk - k | nt - nn | p - v | k - ไม่เติมอะไร | rt - rr | t - d |
บุคคล | Nukkua | Antaa | Leipoa | Lukea | ymmärtää | Pitää |
minä | nukun | annan | leivon | luen | ymmärrän | pidän |
sinä | nukut | aanat | leivot | luet | ymmärrät | pidät |
hän | nukkuu | antaa | leipoo | lukee | ymmärtää | pitää |
me | nukumme | annamme | leivomme | luemme | ymmärrämme | pidämme |
te | nukutte | annatte | leivotte | luette | ymmärrätte | pidätte |
he | nukkuvat | antavat | leipovat | lukevat | ymmärtävät | pitävät |
ป.ล. มีคำที่ยกเว้นที่ไม่ต้องเปลี่ยนในการใช้กฏ ก็คือ คำที่ต้องใช้กับ hän ,he สังเกตุว่า Nukkua (คำเบสิค) ก็ยังต้องใช้ k สองตัวเหมือนเดิม แต่เพิ่มสระตรงท้ายเข้ามา คือให้เติมสระ ให้เหมือนกับสระตัวที่อยู่ข้างหน้า คือ... Nukku- เป็น Nukkuu Leipo- เป็น Leipoo
เรื่องอื่นๆ ตามลิงค์ ที่บล็อคแก๊งค์ค่ะ
เงินสวัสดิการ นักเรียน ของ ฟินแลนด์ หรือ Opintotuki
อ่านต้นฉบับหรือเรื่องราวอื่นๆ ที่นี่นะคะ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=leejayfinland&month=23-11-2014&group=18&gblog=24
ก่อนจะไปเล่าเรื่อง ระบบการเรียนของประเทศฟินแลนด์ ป้าลีขอข้ามไปเล่าถึง เงินสวัสดิการนักเรียน นักศึกษา(ในกรณีที่ถือ วีซ่าครอบครัว Resident permit)
เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ป้าลีเข้าไปถาม สำนักงาน เกล่า เรื่องเงินสวัสดิการนักเรียนของเคสป้าลีเอง
สาเหตุที่ต้องเข้าไปถามเพราะว่า ป้าลีถูกงดเงินช่วยเหลือในการปรับตัว 3 ปี ตามกฏ (ป้าลีใช้สิทธิเพียงแค่สองปี เพราะว่า ถือวีซ่านักเรียนเมื่อปี 2013)
ทำใมถึงถูกงด(เรื่องมันซับซ้อน นิดหน่อยค่ะ)
-คือ ตอนนี้ป้าลีเข้าเรียนคอร์ส ภาษาฟินน์ ระดับ B1.1 เป็นหลักสูตรของ เตื้อฯ
แต่จริงๆ แล้วป้าลีสอบยังไม่ผ่านระดับ A2.1 ด้วยซ้ำ (สาเหตุเพราะกลับไทย แล้วกลับมาก็เดินเข้าห้องสอบเลย ทำให้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์)
คือการจะไปเรียน ระดับ B1.1ได้นั้นเราต้องจบ A2.1 หรือ A2.2 เสียก่อนนะคะ เพราะว่าต่อให้ได้เข้าไปเรียนระดับที่สูงขึ้น แต่ด้วยว่า ภาษาฟินน์ เป็นภาษาชนิดพิเศษถ้าเราไม่จบจริงๆ จากหลักสูตรหนึ่ง ต่อด้วยหลักสูตรถัดไป มันจะทำให้เรางง หนักไปหลายสเต็บทีเดียว เทวดาหน้าหล่อที่บ้านก็ช่วยเสกให้ไม่ได้ คริๆ
แล้วทำใมป้าลี อยู่มาตั้งหลายปี แล้วยังไม่ผ่าน เอ สอง หนึ่ง อยู่ฟวะ (เรียนยังไงของแกอีป้า... ตอบ... ก็ป้าลีข้ามไปเรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นไง แล้วก็มาหยุดเรียนหนึ่งปี เพราะว่าถือวีซ่าผิดประเภท ทำให้โดดไปเรียนกอล์ฟแทน ซึ่งใช้แต่ภาษาอังกฤษทั้งปี ลืมภาษาฟินน์ ที่มีอันน้อยนิด )
ทีนี้หลักสูตรบีหนึ่ง ซึ่งป้าลีตามไม่ค่อยจะทัน เรียกว่าโง่สุดในชั้นแล้วแหละ แต่ก็ยังดันตามคลาสอยุ่นะคะ จนกระทั่ง ได้รับจดหมายจากโรงเรียนวิชาชีพแห่งหนึ่ง ในเฮลซิงกิ ชื่อ Stadin เรียกสอบสัมภาษณ์ และข้อเขียน ในวันที่ 9 ธันวา 2014 ก็คือ อีก หนึ่งเดือน และทางสถาบันวิชาชีพส่วนใหญ่แล้วเค้าจะกำหนดว่า ภาษาฟินน์ของเราต้องขั้นต่ำ เอ สอง สอง (ขั้นต่ำนะคะ บางสาขา กำหนดที่ บีหนึ่งด้วยซ้ำ)
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=leejayfinland&month=23-11-2014&group=18&gblog=24
ก่อนจะไปเล่าเรื่อง ระบบการเรียนของประเทศฟินแลนด์ ป้าลีขอข้ามไปเล่าถึง เงินสวัสดิการนักเรียน นักศึกษา(ในกรณีที่ถือ วีซ่าครอบครัว Resident permit)
เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ป้าลีเข้าไปถาม สำนักงาน เกล่า เรื่องเงินสวัสดิการนักเรียนของเคสป้าลีเอง
สาเหตุที่ต้องเข้าไปถามเพราะว่า ป้าลีถูกงดเงินช่วยเหลือในการปรับตัว 3 ปี ตามกฏ (ป้าลีใช้สิทธิเพียงแค่สองปี เพราะว่า ถือวีซ่านักเรียนเมื่อปี 2013)
ทำใมถึงถูกงด(เรื่องมันซับซ้อน นิดหน่อยค่ะ)
-คือ ตอนนี้ป้าลีเข้าเรียนคอร์ส ภาษาฟินน์ ระดับ B1.1 เป็นหลักสูตรของ เตื้อฯ
แต่จริงๆ แล้วป้าลีสอบยังไม่ผ่านระดับ A2.1 ด้วยซ้ำ (สาเหตุเพราะกลับไทย แล้วกลับมาก็เดินเข้าห้องสอบเลย ทำให้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์)
คือการจะไปเรียน ระดับ B1.1ได้นั้นเราต้องจบ A2.1 หรือ A2.2 เสียก่อนนะคะ เพราะว่าต่อให้ได้เข้าไปเรียนระดับที่สูงขึ้น แต่ด้วยว่า ภาษาฟินน์ เป็นภาษาชนิดพิเศษถ้าเราไม่จบจริงๆ จากหลักสูตรหนึ่ง ต่อด้วยหลักสูตรถัดไป มันจะทำให้เรางง หนักไปหลายสเต็บทีเดียว เทวดาหน้าหล่อที่บ้านก็ช่วยเสกให้ไม่ได้ คริๆ
แล้วทำใมป้าลี อยู่มาตั้งหลายปี แล้วยังไม่ผ่าน เอ สอง หนึ่ง อยู่ฟวะ (เรียนยังไงของแกอีป้า... ตอบ... ก็ป้าลีข้ามไปเรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นไง แล้วก็มาหยุดเรียนหนึ่งปี เพราะว่าถือวีซ่าผิดประเภท ทำให้โดดไปเรียนกอล์ฟแทน ซึ่งใช้แต่ภาษาอังกฤษทั้งปี ลืมภาษาฟินน์ ที่มีอันน้อยนิด )
ทีนี้หลักสูตรบีหนึ่ง ซึ่งป้าลีตามไม่ค่อยจะทัน เรียกว่าโง่สุดในชั้นแล้วแหละ แต่ก็ยังดันตามคลาสอยุ่นะคะ จนกระทั่ง ได้รับจดหมายจากโรงเรียนวิชาชีพแห่งหนึ่ง ในเฮลซิงกิ ชื่อ Stadin เรียกสอบสัมภาษณ์ และข้อเขียน ในวันที่ 9 ธันวา 2014 ก็คือ อีก หนึ่งเดือน และทางสถาบันวิชาชีพส่วนใหญ่แล้วเค้าจะกำหนดว่า ภาษาฟินน์ของเราต้องขั้นต่ำ เอ สอง สอง (ขั้นต่ำนะคะ บางสาขา กำหนดที่ บีหนึ่งด้วยซ้ำ)
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
Missä , Mistä ใช้ต่างกันอย่างไร (ตามรูป)
Missä กับ Mistä ใช้ต่างกัน ตามรูป
การใช้ประโยคคำถาม มิสสะ กับ มิสตะ (ได้กล่าวไปแล้วนั้น) วันนี้เอารูปมายืนยันเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ค่ะ

ง่ายๆ คือ Missä (เป็นไทยคือ ที่ใหน ) จากภาพแรก จะเป็นการบอกว่า อยู่ในสถานที่นั้นๆ แล้ว เช่น
Minä olen postissa ชั้นอยู่ที่ไปรษณีย์
ภาษาฟินแลนด์ ง่ายๆ สำหรับมือใหม่
มารู้จัก Is Am Are ในภาษาฟินแลนด์ สำหรับมือใหม่ค่ะ
ก่อนอื่น ป้าลียังไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฟินแลนด์(หรือจะภาษาใหนก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะคะ)
ก่อนอื่น ป้าลียังไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฟินแลนด์(หรือจะภาษาใหนก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะคะ)
แต่ปัญหาสำหรับผู้เรียนภาษาที่สอง หรือ ภาษาที่สาม เป็นเรื่องใหญ่มาก ในช่วงแรกๆ ที่ต้องไปเข้าห้องเรียน เพราะมันจะงง อีรุงตุงนังไปหมด
ป้าลีก็เลยอยากแชร์เรื่องความไม่เข้าใจในด้านการเรียนภาษาของตัวเองนี่แหละ เผื่อมีใครจะไม่เข้าใจในแบบเดียวกันจะได้มาปรึกษาหารือกันได้
อันที่จริงจะเล่าถึง ปัญหาหรือ พวกการตั้งคำถาม แต่ว่า นึกได้ว่า สำหรับคนใหม่ๆ เลยที่ยังไม่เข้าใจแม้กระทั่ง ฉัน คือ ? เธอ เป็น? อะไรแบบนี้ล่ะนะ ก็เลยเกริ่นนำก่อนนิดนึงดีกว่าเน๊อะ
ถ้ายกตัวอย่างในภาษาอังกฤษเพื่อเปรียบเทียบจะได้ดังนี้
(พยายามจะใส่วรรค แต่มันไม่เป็นวรรค ป้าลีแอบเซ็ง)
วิธีเดินเมืองหนาว แต่ไม่หนาว
หนาวขา เวลาเดินเมืองนอก แต่อยากสวย...ทำไงดี มาดูกันค่ะ
หลายครั้งที่ต้องเดินตากหิมะ แต่อยากใส่ยีนส์ แล้วเลคกิ้งก็เอาไม่อยู่ ทำไงดี
จากรูป ถ้าเราใส่บูทด้านใน ตัวถุงเท้ากันลมก็จะสูงเหนือเข่าไปอีกนะคะ...
อุปกรณ์ ก็คือ ผ้าสีดำด้านนอก ครึ่งเมตร และ ผ้าขนสัตว์ด้านในค่ะ ครึ่งเมตร
ซิบแยก สองอันค่ะ ที่เหลือก็เข็มกับด้ายอ่ะนะ
ทางวิบาก แห่งการรีบออกไปหางานทำในฟินแลนด์
เมื่อเริ่มพูดภาษาได้ ฟังได้ รีบออกไปหางานทำ.... อันนี้เป็นข้อตำหนิ (จริงเหรอป้า?)
จากเพจที่แล้ว ป้าลีทิ้งท้าย ว่า
“ถามว่า แล้วทำใมชั้นจะต้องเรียน วิชาชีพเหมือนป้าด้วยในเมื่อชั้นพูดได้ ฟังได้สื่อสารได้ ชั้นก็ไปหางานทำดีกว่า...
อันนี้ ป้าลีขอตำหนิอย่างรุนแรง... ทำใมน่ะเหรอ”
ทิ้งท้ายไว้แบบนี้จริงๆค่ะ..
“อ้าวทำใม ป้าพูดจาหมาๆ แบบนี้วะ...ก็ในเมื่อมันได้เงินมากกว่าใครจะโง่ไม่เอาวะอีป้า...”
คือ... เราคุยกันเรื่องการเรียนวิชาชีพหลังจากผ่านการเรียนภาษา(ที่สาม)
แล้ว และหลายๆคนกระโดดออกไปหางานทำเลย
เพราะว่าการนั่งเรียนภาษานั้น รัฐบาลฟินแลนด์ซัพพอร์ตเงิน เดือนละประมาณ 800 ยูโรต่อเดือนหลังภาษี
แต่ถ้าออกไปหางานทำ จะได้เงินต่อเดือนมากขึ้นราวๆ หลายร้อยยูโร หลังภาษี
คนก็เลยวิ่งออกไปหางานทำกัน หลังจากเริ่มพูดได้ฟังได้บ้างแล้ว...
ตรงนี้เป็นการสร้างทางวิบาก แก่ตัวเอง
เหตุผลก็เพราะว่า ในยุโรป ไม่ใช่แค่ฟินแลนด์นะคะ ทุกอาชีพ ต้องการใบอนุญาติในสายงานนั้นๆ
แม้กระทั่ง คนงานทำความสะอาดห้องน้ำในโรงเรียนก็ตามคนครัว หรือ คนเฝ้าไข้ คนเลี้ยงเด็ก...ต้องผ่านการเรียนในหลักสูตรวิชาชีพ
แล้วจบหลักสูตรได้ใบอนุญาติว่าจบวิชาชีพในสายงานนั้นจริงๆ แล้วออกไปทำงาน รายได้ก็จะแตกต่าง
แต่ถ้า คุณพูดได้ ฟังได้ แล้วออกไปหางานทำ โดยที่ไม่มีใบอนุญาติในสายงานนั้นๆ คุณก็จะเป็นได้แค่ แรงงานขั้นต่ำเท่านั้น...แรงมั๊ยคะ? แรงค่ะ แต่ฟังก่อน
ถึงแม้ว่า คุณจะได้เงินมากกว่าที่รัฐบาลให้ แต่มันก็เพียงแค่ไม่กี่ร้อยยูโรต่อเดือนเท่านั้น
และคุณคิดว่า คุณจะต้องทำงานแบบนั้นไปจนเกษียณ อย่างนั้นเหรอ?
โดยการกินเงินได้ขั้นต่ำ เนี่ยนะ?
แต่ถ้าคุณทน ทำใจ ไปนั่งเรียนให้จบ (เร็วที่สุด)ตามโปรแกรมที่ป้าลีแนะนำ
คุณจะออกมาทำงานและรายได้จะมากกว่า คนที่ไม่ได้มีใบอนุญาติ (รายได้ต่างกันเกือบสองเท่านะคะ) แหละนี่คือโอกาสชีวิตนะคะ....
(แต่ก็ นะ เว้น ประเภททำงาน พิเศษ ในรูปแบบต่างๆ นะคะ
เช่นงานเป็นลักษณะชั่วคราวที่ถูกการว่าจ้างแบบเฉพาะกิจ
หรือ งานนวด หรือ อื่นๆที่พิเศษๆ ซึ่งอย่าเอามาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ป้าลีกำลังพูดตรงนี้เลย)
และอีกแนวทางหนึ่ง... ในกรณีที่คุณจบ ปริญญาตรี มาจากเมืองไทยแล้วขอให้พิจารณาทางเลือกตรงนี้นิดนะคะ
ในกรณีที่เราไปเดินเรียนภาษาฟินน์ ไปต่อ อัมมัตติ จนจบแล้วออกไปทำงาน... ยังไงซะวุฒิที่ได้ก็คือ “วิชาชีพ” และนั่นกินเวลา 3-5 ปี
แต่ถ้าคุณจบ ตรีมาแล้ว ป้าลีแนะนำ ให้คุณหาทางไปเรียนต่อ มหาวิทยาลัยในระดับ ป.โท
เพราะว่า มันจะใช้เวลาแค่สองปี หรือ ปีครึ่ง ก็ได้ วุฒิ ป.โท แต่เป็นหลักสูตรอินเตอร์อ่ะนะ
อ้าว แล้วภาษาอังกฤษหนูห่วยอ่ะป้า... หนุเรียนไม่ได้แน่เลย...
ป้าก็ห่วยค่ะ แต่ของมันเรียนต่อกันได้ ก็ไปหาคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ จบนะ....
ทีนี้ ถ้าเรามองทางเลือกนี้....จะเริ่ดมาก เพราะว่า เราจะใช้เวลาแค่สองปีแค่นั้นเองในการถือวุฒิ ป.โท(จากฟินแลนด์)
ในขณะที่ “วิชาชีพ” มันก็คือ วิชาชีพ มันไม่ใช่ปริญญานะคะ
และถ้าคุณ จบ ป.โทแล้วออกไปทำงาน หางานทำที่นี่ รายได้ มากกว่า คุณ จบ แค่วิชาชีพแน่นอน...
แล้วทำยังไง... คุณก็ไปเรียนภาษาฟินน์ ตามที่ สนง.แรงงานส่งให้คุณเรียนนั่นแหละ แต่ๆๆๆๆ เรียนให้เร็วที่สุด เช่น หาคลาสเรียนเอง จ่ายเอง ประมาณ 100 ยูโรต่อคอร์ส
(ถ้าบอกว่าแพง ก็ขอให้คุณจบการอ่านตรงนี้ไว้เท่านี้ค่ะ)
แล้วเรียนแค่ 3-4 เดือน หรือเทอมเดียวน่ะค่ะ ให้ได้ระดับ ที่ A2 คุณก็สามารถไปขอสอบ อัมมัตติในสาขาที่เรียนไม่ยากมากๆ ย้ำ นะคะ ว่าที่เรียนง่ายๆ เช่น ทำอาหาร ทำความสะอาด ดูแลบ้าน หรือ สาขาช่างต่างๆ (ช่างเนี่ย เรียนง่ายสุด ไม่ว่าจะช่างไม้ ช่างตกแต่งภายใน ช่างทาสี ช่างผม ช่างก่อสร้าง หรือ งานเสื้อผ้า ฯลฯ)
ทำใม.. เพราะว่า พอมันเรียนง่าย คุณก็เรียนบ้าง โดดบ้าง เพื่อแพลนตัวเองไปเรียนภาษาอังกฤษ และเตรียมตัวสอบเข้า ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ตามที่คุณตั้งใจ... ตรงนี้ เด็กเรียนระดับนี้ จะเข้าใจว่าป้าลีพูดอะไร ... พอเรียนภาษาในระยะเวลาอันสั้น แล้วไปต่ออัมมัตติที่ง่ายๆ คุณก็ยังคงกินเงิน เดือน ละ 800 ยูโร ตามที่กล่าวมา ทุกประการ ใช่ป่ะค่ะ... แต่คุณก็เอาเวลาไปเตรียมตัวเองเพื่อการเรียนต่อ แปลว่าต้องขยันมากกว่า คนปกติ (แหงๆ แหละนะ )
และตรงนี้มันเป็นทุนติดตัวค่ะวันหน้าชีวิตจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
แต่ความมั่นคงในตัวเองเกิดค่ะ ดีกว่าเกิดความผิดพลาด
(เช่น หย่า)แล้วหาทางเดินให้ตัวเองไม่เจอ หรือ... ภาวะวิกฤตต่างๆ ในชีวิต
ถามว่า เรียนยากมั๊ย... ยากค่ะ... แต่มันก็ไม่เคยมีอะไรที่ได้มาง่ายๆ ไม่ใช่เหรอคะ? ตอนที่คุณจบ ป.ตรีมา คุณก็รู้ว่ามันก็ยาก ใช่มั๊ยคะ
แต่ของที่ยากคนก็ยิ่งคว้าตรงนั้นยาก นั่นก็แปลว่า ไม่มีคู่แข่ง และไม่เห็นจะต้องไปเดินแข่งกับใครด้วย
แข่งมันกับตัวเองนี่แหละ
แล้วเงินล่ะป้า? หนูว่า ไปเรียน ภาษาฟินน์ ได้เงินมากกว่านะ ตั้งแปดร้อยยูโรแน่ะ...
ตอบ. จริงค่ะ... แต่แปดร้อยตรงนั้น มันจะได้แค่ สองร้อยวันทำการแรกแค่นั้นเอง(จากนั้นเงินจะลดลงนิดหน่อย ไม่เยอะ เหลือประมาณ 690 ยูโร)....คุณก็หาทางไป เดินวนๆ ในสายเรียนง่ายๆ ที่ป้าแนะนำเพื่อกินเงินตรงนี้ต่อไป เพื่อช่วยผยุงตัวเองให้แพลนไปต่อระดับที่สูงขึ้นให้ได้
แล้วการที่คุณจบป.โท แล้วไปทำงาน ตลอดชีวิตน่ะ ได้เงินมากกว่ากันเท่าไหร่?
ตรงนี้ชัดเจนมากๆ นะคะ แต่หลายคน ไม่อยากทำเพราะว่า บอกว่า ภาษาไม่ถึง
ก็อย่างที่บอก ตอนไปเรียน ภาษาฟินน์ก็เรียน ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วยก็ได้ไม่ใช่เหรอคะ?
ครึ่งวันเรียนอีกอย่าง และอีกครึ่งวันก็เรียน อีกอย่าง ประมาณ สี่หรือ ห้าเดือน ก็ได้ภาษาแล้วอ่ะ....
ยอมเหนื่อยแบบนี้ ดีกว่า ไปเหนื่อยทำงานแบบกินเงินค่าแรงขั้นต่ำไปตลอดชีวิต นาาาาา ป้าว่า....
สวัสดิการเรื่องเรียน เป็นการกินเงินเกล่า(ไม่ใช่เตื้อ) นะคะ 290 ยูโรต่อเดือนโดยประมาณแต่ของ เตื้อฯ หรือ เตเอ เนี่ย คือเงินซัพพอร์ตต่างชาติ (ซัพพอร์ตในหลายรูปแบบนะคะ ไม่ใช่แค่ไปเรียนภาษาฟินน์ ตามที่เราเข้าใจแล้วนะ ตรงนี้จะบอกอีกที เพราะมันขั้นถัดไป สำหรับ ผู้ประกอบการด้านธุรกิจต่างๆ)
ต่างกันเกินครึ่ง แต่ว่า สามารถ กู้เงินเรียนได้(อันที่จริงเค้าไม่ได้บังคับว่าต้องจ่ายคืนให้หมดภายในเมื่อไหร่ ก็หลายๆ ปีแหละจากที่เรียนจบ)
หรือจะไม่อยากกู้ก็ได้ ก็ใช้วิธีขอกินเงินตกงาน ตามที่แนะนำข้างบนนั้นแหละ ว่าไปเรียนสองที่... เคนะคะ
ป้าลีก็ปรึกษาเตเอแบบนี้แหละค่ะ แต่ว่า เตื้อแนะนำให้ใช้เงินสนับสนุน
ด้านอื่นอีกตรงนี้ยกไปป้ายหน้าแล้วกันค่ะ
ติดตามอ่านชีวิตฟินแลนด์ ได้ที่ บล็อคแก๊งค์นะคะ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=leejayfinland&month=01-02-2014&group=18&gblog=22
จากเพจที่แล้ว ป้าลีทิ้งท้าย ว่า
“ถามว่า แล้วทำใมชั้นจะต้องเรียน วิชาชีพเหมือนป้าด้วยในเมื่อชั้นพูดได้ ฟังได้สื่อสารได้ ชั้นก็ไปหางานทำดีกว่า...
อันนี้ ป้าลีขอตำหนิอย่างรุนแรง... ทำใมน่ะเหรอ”
ทิ้งท้ายไว้แบบนี้จริงๆค่ะ..
“อ้าวทำใม ป้าพูดจาหมาๆ แบบนี้วะ...ก็ในเมื่อมันได้เงินมากกว่าใครจะโง่ไม่เอาวะอีป้า...”
คือ... เราคุยกันเรื่องการเรียนวิชาชีพหลังจากผ่านการเรียนภาษา(ที่สาม)
แล้ว และหลายๆคนกระโดดออกไปหางานทำเลย
เพราะว่าการนั่งเรียนภาษานั้น รัฐบาลฟินแลนด์ซัพพอร์ตเงิน เดือนละประมาณ 800 ยูโรต่อเดือนหลังภาษี
แต่ถ้าออกไปหางานทำ จะได้เงินต่อเดือนมากขึ้นราวๆ หลายร้อยยูโร หลังภาษี
คนก็เลยวิ่งออกไปหางานทำกัน หลังจากเริ่มพูดได้ฟังได้บ้างแล้ว...
ตรงนี้เป็นการสร้างทางวิบาก แก่ตัวเอง
เหตุผลก็เพราะว่า ในยุโรป ไม่ใช่แค่ฟินแลนด์นะคะ ทุกอาชีพ ต้องการใบอนุญาติในสายงานนั้นๆ
แม้กระทั่ง คนงานทำความสะอาดห้องน้ำในโรงเรียนก็ตามคนครัว หรือ คนเฝ้าไข้ คนเลี้ยงเด็ก...ต้องผ่านการเรียนในหลักสูตรวิชาชีพ
แล้วจบหลักสูตรได้ใบอนุญาติว่าจบวิชาชีพในสายงานนั้นจริงๆ แล้วออกไปทำงาน รายได้ก็จะแตกต่าง
แต่ถ้า คุณพูดได้ ฟังได้ แล้วออกไปหางานทำ โดยที่ไม่มีใบอนุญาติในสายงานนั้นๆ คุณก็จะเป็นได้แค่ แรงงานขั้นต่ำเท่านั้น...แรงมั๊ยคะ? แรงค่ะ แต่ฟังก่อน
ถึงแม้ว่า คุณจะได้เงินมากกว่าที่รัฐบาลให้ แต่มันก็เพียงแค่ไม่กี่ร้อยยูโรต่อเดือนเท่านั้น
และคุณคิดว่า คุณจะต้องทำงานแบบนั้นไปจนเกษียณ อย่างนั้นเหรอ?
โดยการกินเงินได้ขั้นต่ำ เนี่ยนะ?
แต่ถ้าคุณทน ทำใจ ไปนั่งเรียนให้จบ (เร็วที่สุด)ตามโปรแกรมที่ป้าลีแนะนำ
คุณจะออกมาทำงานและรายได้จะมากกว่า คนที่ไม่ได้มีใบอนุญาติ (รายได้ต่างกันเกือบสองเท่านะคะ) แหละนี่คือโอกาสชีวิตนะคะ....
(แต่ก็ นะ เว้น ประเภททำงาน พิเศษ ในรูปแบบต่างๆ นะคะ
เช่นงานเป็นลักษณะชั่วคราวที่ถูกการว่าจ้างแบบเฉพาะกิจ
หรือ งานนวด หรือ อื่นๆที่พิเศษๆ ซึ่งอย่าเอามาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ป้าลีกำลังพูดตรงนี้เลย)
และอีกแนวทางหนึ่ง... ในกรณีที่คุณจบ ปริญญาตรี มาจากเมืองไทยแล้วขอให้พิจารณาทางเลือกตรงนี้นิดนะคะ
ในกรณีที่เราไปเดินเรียนภาษาฟินน์ ไปต่อ อัมมัตติ จนจบแล้วออกไปทำงาน... ยังไงซะวุฒิที่ได้ก็คือ “วิชาชีพ” และนั่นกินเวลา 3-5 ปี
แต่ถ้าคุณจบ ตรีมาแล้ว ป้าลีแนะนำ ให้คุณหาทางไปเรียนต่อ มหาวิทยาลัยในระดับ ป.โท
เพราะว่า มันจะใช้เวลาแค่สองปี หรือ ปีครึ่ง ก็ได้ วุฒิ ป.โท แต่เป็นหลักสูตรอินเตอร์อ่ะนะ
อ้าว แล้วภาษาอังกฤษหนูห่วยอ่ะป้า... หนุเรียนไม่ได้แน่เลย...
ป้าก็ห่วยค่ะ แต่ของมันเรียนต่อกันได้ ก็ไปหาคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ จบนะ....
ทีนี้ ถ้าเรามองทางเลือกนี้....จะเริ่ดมาก เพราะว่า เราจะใช้เวลาแค่สองปีแค่นั้นเองในการถือวุฒิ ป.โท(จากฟินแลนด์)
ในขณะที่ “วิชาชีพ” มันก็คือ วิชาชีพ มันไม่ใช่ปริญญานะคะ
และถ้าคุณ จบ ป.โทแล้วออกไปทำงาน หางานทำที่นี่ รายได้ มากกว่า คุณ จบ แค่วิชาชีพแน่นอน...
แล้วทำยังไง... คุณก็ไปเรียนภาษาฟินน์ ตามที่ สนง.แรงงานส่งให้คุณเรียนนั่นแหละ แต่ๆๆๆๆ เรียนให้เร็วที่สุด เช่น หาคลาสเรียนเอง จ่ายเอง ประมาณ 100 ยูโรต่อคอร์ส
(ถ้าบอกว่าแพง ก็ขอให้คุณจบการอ่านตรงนี้ไว้เท่านี้ค่ะ)
แล้วเรียนแค่ 3-4 เดือน หรือเทอมเดียวน่ะค่ะ ให้ได้ระดับ ที่ A2 คุณก็สามารถไปขอสอบ อัมมัตติในสาขาที่เรียนไม่ยากมากๆ ย้ำ นะคะ ว่าที่เรียนง่ายๆ เช่น ทำอาหาร ทำความสะอาด ดูแลบ้าน หรือ สาขาช่างต่างๆ (ช่างเนี่ย เรียนง่ายสุด ไม่ว่าจะช่างไม้ ช่างตกแต่งภายใน ช่างทาสี ช่างผม ช่างก่อสร้าง หรือ งานเสื้อผ้า ฯลฯ)
ทำใม.. เพราะว่า พอมันเรียนง่าย คุณก็เรียนบ้าง โดดบ้าง เพื่อแพลนตัวเองไปเรียนภาษาอังกฤษ และเตรียมตัวสอบเข้า ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ตามที่คุณตั้งใจ... ตรงนี้ เด็กเรียนระดับนี้ จะเข้าใจว่าป้าลีพูดอะไร ... พอเรียนภาษาในระยะเวลาอันสั้น แล้วไปต่ออัมมัตติที่ง่ายๆ คุณก็ยังคงกินเงิน เดือน ละ 800 ยูโร ตามที่กล่าวมา ทุกประการ ใช่ป่ะค่ะ... แต่คุณก็เอาเวลาไปเตรียมตัวเองเพื่อการเรียนต่อ แปลว่าต้องขยันมากกว่า คนปกติ (แหงๆ แหละนะ )
และตรงนี้มันเป็นทุนติดตัวค่ะวันหน้าชีวิตจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
แต่ความมั่นคงในตัวเองเกิดค่ะ ดีกว่าเกิดความผิดพลาด
(เช่น หย่า)แล้วหาทางเดินให้ตัวเองไม่เจอ หรือ... ภาวะวิกฤตต่างๆ ในชีวิต
ถามว่า เรียนยากมั๊ย... ยากค่ะ... แต่มันก็ไม่เคยมีอะไรที่ได้มาง่ายๆ ไม่ใช่เหรอคะ? ตอนที่คุณจบ ป.ตรีมา คุณก็รู้ว่ามันก็ยาก ใช่มั๊ยคะ
แต่ของที่ยากคนก็ยิ่งคว้าตรงนั้นยาก นั่นก็แปลว่า ไม่มีคู่แข่ง และไม่เห็นจะต้องไปเดินแข่งกับใครด้วย
แข่งมันกับตัวเองนี่แหละ
แล้วเงินล่ะป้า? หนูว่า ไปเรียน ภาษาฟินน์ ได้เงินมากกว่านะ ตั้งแปดร้อยยูโรแน่ะ...
ตอบ. จริงค่ะ... แต่แปดร้อยตรงนั้น มันจะได้แค่ สองร้อยวันทำการแรกแค่นั้นเอง(จากนั้นเงินจะลดลงนิดหน่อย ไม่เยอะ เหลือประมาณ 690 ยูโร)....คุณก็หาทางไป เดินวนๆ ในสายเรียนง่ายๆ ที่ป้าแนะนำเพื่อกินเงินตรงนี้ต่อไป เพื่อช่วยผยุงตัวเองให้แพลนไปต่อระดับที่สูงขึ้นให้ได้
แล้วการที่คุณจบป.โท แล้วไปทำงาน ตลอดชีวิตน่ะ ได้เงินมากกว่ากันเท่าไหร่?
ตรงนี้ชัดเจนมากๆ นะคะ แต่หลายคน ไม่อยากทำเพราะว่า บอกว่า ภาษาไม่ถึง
ก็อย่างที่บอก ตอนไปเรียน ภาษาฟินน์ก็เรียน ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วยก็ได้ไม่ใช่เหรอคะ?
ครึ่งวันเรียนอีกอย่าง และอีกครึ่งวันก็เรียน อีกอย่าง ประมาณ สี่หรือ ห้าเดือน ก็ได้ภาษาแล้วอ่ะ....
ยอมเหนื่อยแบบนี้ ดีกว่า ไปเหนื่อยทำงานแบบกินเงินค่าแรงขั้นต่ำไปตลอดชีวิต นาาาาา ป้าว่า....
สวัสดิการเรื่องเรียน เป็นการกินเงินเกล่า(ไม่ใช่เตื้อ) นะคะ 290 ยูโรต่อเดือนโดยประมาณแต่ของ เตื้อฯ หรือ เตเอ เนี่ย คือเงินซัพพอร์ตต่างชาติ (ซัพพอร์ตในหลายรูปแบบนะคะ ไม่ใช่แค่ไปเรียนภาษาฟินน์ ตามที่เราเข้าใจแล้วนะ ตรงนี้จะบอกอีกที เพราะมันขั้นถัดไป สำหรับ ผู้ประกอบการด้านธุรกิจต่างๆ)
ต่างกันเกินครึ่ง แต่ว่า สามารถ กู้เงินเรียนได้(อันที่จริงเค้าไม่ได้บังคับว่าต้องจ่ายคืนให้หมดภายในเมื่อไหร่ ก็หลายๆ ปีแหละจากที่เรียนจบ)
หรือจะไม่อยากกู้ก็ได้ ก็ใช้วิธีขอกินเงินตกงาน ตามที่แนะนำข้างบนนั้นแหละ ว่าไปเรียนสองที่... เคนะคะ
ป้าลีก็ปรึกษาเตเอแบบนี้แหละค่ะ แต่ว่า เตื้อแนะนำให้ใช้เงินสนับสนุน
ด้านอื่นอีกตรงนี้ยกไปป้ายหน้าแล้วกันค่ะ
ติดตามอ่านชีวิตฟินแลนด์ ได้ที่ บล็อคแก๊งค์นะคะ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=leejayfinland&month=01-02-2014&group=18&gblog=22
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)