วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เปลี่ยนเครื่องที่ สนามบิน สต็อคโฮม transit in Stockholm Airport

เพจนี้ทำขึ้นเพื่อคนไม่เคยเปลี่ยนเครื่องแล้วกลัวการตกเครื่อง

ที่เห็นนี่คือ ตรวจคนเข้าเมืองค่ะ เราต้องเข้าคิวเพื่อยื่นพาสปอร์ตกับตำรวจค่ะ เพราะว่าเรามาจากสายการบินนอกยุโรป

ป้า ลีเขียนขึ้นให้ดูเป็นบรรยากาศนะคะ จะได้ตกใจน้อยลง เพราะบางทีเราเลือกราคาตั๋วไม่ได้ ทำให้เราต้องไปเปลี่ยนเครื่องเพื่อประหยัดเงิน ซึ่งจริงๆแล้วเป็นเรื่องที่ควรทำนะคะ เพราะว่าจะได้เหลือเงินไปทำอย่างอื่น และจะได้มีประสบการณ์ในการเดินทางมากขึ้น

การเปลี่ยนเครื่องแนะนำ อย่างน้อย 2 ชั่วโมงนะคะ เผื่อเครื่องล่าช้าจากต้นทาง

แต่การเปลี่ยนเครื่องที่สนามบิน สต็อคโฮมนี้ เป็นสนามบินไม่ใหญ่มาก (ค่อนข้างเล็กมาก) 

ซึ่ง ป้าลีกลับจากทริปฟลอริด้าเมื่อวานนี้ เลยเก็บภาพมาฝากค่ะ เพราะเปลี่ยนเครื่องขากลับจากสนามบิน ไมอะมี่ ไปเฮลซิงกิ แต่เปลี่ยนเครื่องที่สนามบินนี้ 80 นาทีค่ะ (หนึ่งชั่วโมงกับยี่สิบนาที) โดยสายการบิน นอร์เวย์เจี้ยนค่ะ ไม่ค่อยกลัวตกเครื่องเพราะว่ารู้ว่า สนามบินนี้เล็กมาก วิ่งทันต่อให้เครื่องล่าช้าก็เถอะ (แต่เครื่องก็ไม่เลทค่ะ)

อันแรกจากภาพแรกจะเห็นว่าเราต้องผ่านการ ตรวจคนเข้าเมืองก่อน ตำรวจก็จะไม่ถามค่ะ ถ้าเรามีเรสซิเด้น เปอมิท แต่ถ้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวครั้งแรก เค้าก็จะถามว่า จะไปใหน ไปทำอะไร คือถามประมาณ สองสามคำถามค่ะ ก็ตอบไปตามจริง

เสร็จแล้ว เดินเข้าเครื่องสแกนกระเป๋าสะพายค่ะ ต้องไม่มีน้ำดื่ม หรือ ของเหลว(ตามแบบฉบับ มีใครไม่ทราบมั๊ยคะว่า เค้าห้ามอะไรบ้าง .... ประมาณว่า ถ้ามีของเหลวให้เอาใส่ถุงพลาสติกที่มีซิปรูดน่ะค่ะ หาได้ในสนามบินก่อนเดินทางออกจากต้นทาง และของที่จะใส่ในถุงซิปได้ต้องไม่เกิน 100 ml ใส่ได้หลายชิ้นจนกว่าจะเต็มถุงค่ะและต้องใส่ได้หนึ่งถุงปิดได้มิดพอดีค่ะ ส่วนของกินไม่ห้ามค่ะ (ถ้าไม่ไปอเมริกา) เช่นจะเป็นผลไม้ ขนมบางอย่าง ให้ใส่ถุงไปกินบนเครื่องได้ค่ะ ใส่ในกระเป๋าสะพายที่เราถือติดตัวไม่เกิน 10 กก.ค่ะ)

ผ่านสแกนของแล้ว มองหาป้ายนะคะ ตามนี้


จาก ภาพจะเห็นว่า เที่ยวบินที่เราจะไปต่อนั้น เที่ยวบินที่เท่าไหร่ เวลาเท่าไหร่ สายการบินอะไร (เวลาจะไล่จากก่อนไปหลังค่ะ ให้ดูที่เวลาก่อน ว่าตรงกับ บอร์ดดิ้งการ์ดของเราที่ได้จากการเช็คอินจากต้นทาง เช่น กรุงเทพฯ  ถ้าเราเปลี่ยนเครื่อง 1 ครั้ง เค้าจะให้บอร์ดดิ้งการ์ดมาสองอัน เพื่อใช้ขึ้นเครื่อง 2 ครั้งค่ะ ก็คืออันที่สองจะใช้ในสนามบิน สต็อคโฮมค่ะ)

สมมุติว่า ได้ Gate 12 ก็คือ ประตูเข้าอันดับที่ 12 เราก็จะเดินหาตามป้ายเลยค่ะ







ช่อง ทางนี้ จะเป็นทางที่เราเดินเลาะไปอีกฝั่งของอาคารค่ะ มองเห็นกันได้จากหน้าต่างกระจกนั่นแหละ ระหว่างมีเครื่องบินการบินไทยจอดอยู่ กับอีกฝากไม่มี ก็เดินเลาะไปตามทางนี้ ประมาณ ห้านาทีค่ะ ไม่ไกล





พอ เจอประตูที่ 12 แล้วให้เงยหน้าอ่านหน้าจอ ด้านในของเกท นิดนะคะ ว่าหน้าจอเขียนว่าไปเฮลซิงกิหรือเปล่า (หรือไปที่อื่นตามบอร์ดดิ้งการ์ดของคุณ) 


บรรยากาศ หน้าเกทก็จะประมาณนี้ค่ะ ให้ชาร์จมือถือได้ แต่ต้องเตรียมอเด็บเตอร์มาเสียบนะคะ เพราะว่าเครื่องชาร์จจากไทยบางรุ่นเท่านั้นที่ใช้เข้ากันได้กับทางยุโรป(คือ ขาเสียบจะกลมๆน่ะค่ะ ถ้าเป็นขาเสียบแบนๆจะเสียบไม่ได้ หาถามพนักงานได้ค่ะซื้อจากตลาดนัดก็ได้ ประมาณ ยี่สิบบาท แต่ถ้าจะเอาปลอดภัย ตามร้านไฟฟ้าทั่วไป แพงหน่อยแต่ใช้ได้นาน และปลอดภัย)





หน้าจอจะเขียนบอก ว่าประตูนี้สำหรับผู้โดยสารไป เฮลซิงกิ เวลาเท่าไหร่ ก็คือตรวจสอบดูว่าถูกต้องหรือไม่

สนาม บินมี ไวไฟให้ใช้ค่ะ โทรหาเพื่อน ผุ้ปกครอง หรือแฟน ได้ตลอดเวลา ว่าเดินทางถูกต้องหรือไม่ประการใด ถ้าฟังชาวบ้านไม่เข้าใจ ให้ยกหูคุยกับคนทางบ้านโลด ว่าเราเข้าถูกที่หรือไม่ (แต่ถูกแน่นอนค่ะ ไม่ยากมากมาย)

พอเข้าเครื่องแล้ว ก็จะลงที่ สนามบินเฮลซิงกิ  ปัญหาคือ ลงแล้วไปใหนต่อ




ให้ มองหาว่า จะต้องไปเอากระเป๋าเดินทางตัวเองที่โหลด ณ ตอนเช็คอินน่ะค่ะ พนักงานจะบอกว่า กระเป๋าพี่ไปรับที่เฮลซิงกินะคะ (แต่ตัวเราไปเดินเล่นที่ สต็อคโฮม เพราะเปลี่ยนเครื่อง)

สมมุติว่าได้กระเป๋า ตามช่องเดียวกับป้าลี คือ 2A เราก็จะมองหา ทางออกที่เขียนว่า EXIT 2A
เทคนิค เดิม คือ สนามบินมีไวไฟ หาไม่เจอหรือหลงทาง เพราะเดินตามคนข้างหน้าไม่ทัน เพราะนางเดินเร็ว แต่เราตัวเล็กโดนเบียดโดนบังทำให้ตามตูดเค้าไม่ทัน เลยหลง โทรหาคนมารับค่ะ ง่ายสุด (แต่ถ้าตามทันเพื่อนร่วมชะตากรรมในเครื่องก็ให้เกาะติดเค้าได้นะคะ เกาะติดคนที่เป็นกลุ่มค่ะ ไม่ใช่ไปตามคนๆเดียว ซึ่งนางอาจจะหลงเหมือนเราก็ได้)



พอมองเห็นมั๊ยคะ ว่า เที่ยวบินของเราเวลาถึงเฮลซิงกิ เท่าไหร่ เที่ยวบินอะไร และ หมายเลขเท่าไหร่ เค้าจะบอกว่าไปรับที่ EXIT 2A

เรา ก็เดินตามป้ายทันที (ตรงนี้จะไม่มี ตรวจคนเข้าเมืองถ้าเราเปลี่ยนเครื่อง เพราะว่า เราได้ผ่าน ตม. ตั้งกะ สนามบินสต็อคโฮมแล้ว แต่ถ้าเราบินตรง เราจะต้องถูกบังคับเข้า ตม. ของ สนามบินเฮลซิงกิค่ะ เพราะเราบินจากนอกโซนยุโรป)



พอได้กระเป๋าเดินทางจากสายพานเรียบร้อยแล้ว เราก็ลากออกมาตามหลังคนอื่นที่เค้าเดินไป ทางออก ที่เขียนว่า EXIT ก็จะเจอคนมารับค่ะ

จบการเดินทาง

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

Iittala แบรนด์ดัง แห่ง ฟินแลนด์

Iittala แบรนด์ดัง แห่งฟินแลนด์




วันนี้ เล่าถึง ความบ้าของคนฟินแลนด์กับแบรนด์ดัง ที่เป็นเรื่อง ขัดแย้งกับนิสัยคนฟินแลนด์ค่ะ (ปกติคนฟินแลนด์ไม่คลั่งไคล้ของแพง บ้าแบรนด์ วิ่งตามแฟชั่น)
อีท ตา ล่ะ iitala  แบรนด์ดังของชาวฟินแลนด์ ด้านเครื่องครัว และอุปกรณ์แต่งบ้าน หรือใช้ในบ้านในสวน

ไปดูกันค่ะ ว่ามันบ้ายังไง... (เครซี่น่ะแหละ แต่อยากใช้คำไทย พอใช้คำไทยปุ๊บ อ่านปั๊บ ความหมายรุนแรงเชียว)




อย่างเช่น โถใบนี้ ราคาเกิน 4,000 บาท ไม่ได้ใหญ่โตอะไรนะคะ
แต่การออกแบบแนวนี้คือสัญลักษณ์ของชาวฟินแลนด์ ที่ออกแบบตามแนวคิด
ที่ว่า ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีป่าไม้เยอะมีแม่น้ำเยอะ ฟ้าใสตอนซัมเมอร์
(แดดแรงได้ใจขอบอก ขับรถถ้าลืมแว่นกันแดดที่บ้าน เรียบร้อย
ต้องร้องไห้ไปขับไป แน่นอน เดินตีกอล์ฟ ถ้าไม่ทากันแดดเพียงแค่วันเดียว
ฟ้าขึ้นหน้าเลย จริงๆ ป้าลียืนยันนอนยันนั่งยัน)



ใบนี้ส่วนตัวคิดว่าเอาไว้โชว์ค่ะ เพราะคงไม่มีใครซื้อ แน่เลยราคานี้

เรื่อง ใบขับขี่ใน ฟินแลนด์

เรื่องใบขับขี่ในฟินแลนด์ (ภาคสอง)
ต่อจากภาคแรกค่ะ เพราะความยาวอักษรเกิน  50,000 ตัวอักษร

หรือ บางที่ จอดฟรีไม่เกิน สองชั่วโมง เช่น ร้านเยอรมัน หรือ ลิดเดิล หรือ ห้างอื่นๆ  อันนี้ก็ต้องใช้บัตรเวลาเช่นกัน ถ้าลืม เจอปรับอีกค่ะ หนักเช่นกัน 

การ ขับในเฮลซิงกิ คือ ห้ามขับตรง ทางรถเมล์นะคะ จะเขียนว่า  Bus ตางถนน คือเราห้ามเข้า ไม่งั้นจอดกล้องถ่ายรูปที่มีอยู่ทุกมุมเมือง หรือตามถนนในป่านอกเมือง กล้องก็ยังใช้งานได้ดีนะคะจะบอกให้

 (การขับในเมืองเฮลซิงกิ จำกัดความเร็วที่  40 - 50 เท่านั้นค่ะ หลายโซน ที่  30  ดังนั้นตาเร็วและมองป้ายจำกัดความเร็วให้ดีๆ ค่ะ) 



และการขับในเมืองใหญ่ ปัญหาอีกอย่างคือ จะมีเลน รถราง หรือ รถแทรม ตรงกลางแบบนี้อีกด้วย เวลาจะเลี้ยวข้ามเลน ลำบากมากๆ 


 
สุดท้าย ใน เมืองนอกทุกประเทศ ให้ความสำคัญกับถนนคนเดิน ทางจักรยาน ทางม้าลาย สุดๆ นะคะ  เน้นว่าสุดๆ สำคัญเท่าการรักษาชีวิตกันเลยทีเดียว ดังนั้นต้องระวังมากๆ  ตาต้องเร็ว ถ้าทางคนข้าม แล้วมีคนหรือจักรยาน ต้องหยุดให้เค้าไปก่อน เท่านั้น (บ้านเรา คนจะหยุดให้รถไปก่อน ทางพฤตินัยค่ะ ถ้าตามกฏแล้ว บ้านเราก็หยุดให้คนข้ามเช่นกัน แต่ไม่มีใครปฏิบัติเท่าไหร่) 

การขับรถในฟินแลนด์

การขับรถในฟินแลนด์ และการมีใบขับขี่ของประเทศฟินแลนด์
เป็นที่ทราบกันดีว่า การขับรถในฟินแลนด์จะตรงข้ามกับเมืองไทย คือ ขับเลนขวา  และ พวกมาลัยคนขับจะอยู่ด้านซ้าย 

ป้ายลูกศรชี้บอกตรงทางแยก ทุกแยกค่ะ ไม่งงแน่นอนว่าต้องขับเลนใหน




แต่ความยากของการใช้รถไม่ใช่ที่การเลนขวาหรือพวงมาลัยซ้ายแต่อย่างใด 
มาเริ่มเกี่ยวกับ ใบขับขี่การก่อนนะคะ
กรณี เราเป็นนักท่องเที่ยว ที่ มาเที่ยวยุโรป(รวมฟินแลนด์ และยกเว้นอังกฤษ)  เราสามารถใช้ใบขับขี่สากล ที่ขอมาจากบ้านเราได้เลย มีอายุ หนึ่งปีค่ะ สำหรับใบขับขี่สากล (สมัยห้าปีก่อน ราคา  550 บาทโดยประมาณ ต่อหนึ่งปี) 
กรณีคนไทยที่มาอยู่ฟินแลนด์และมีใบขับขี่จากไทยแลนด์แล้ว (แนะนำให้ไปทำใบขับขี่ก่อนมาอยู่ฟินแลนด์ด้วยนะคะ จำเป็นมาก)  คือ คนไทยสามารถนำใบขับขี่ไทย ไปขอแลกใบขับขี่ฟินแลนด์(ที่สามารถใช้ในยุโรปได้)  ถ้าคนไทยมาอยู่ฟินแลนด์เกิน  6 เดือน และจะต้องไม่เกิน  2 ปี(เน้นนะคะ) 
ถ้าอยู่เกินสองปีแล้วยังไม่ไปขอแลกใบขับขี่ จะหมดสิทธิทันที ต้องไปขอสอบเท่านั้นนะคะ 

การซื้อรถมือสอง ใน ฟินแลนด์

การซื้อรถมือสอง ใน ฟินแลนด์
เรื่องนี้ ละเอียดอ่อนเชียว  เพราะว่ามันแล้วแต่ประสบการณ์ของคนที่เจอเหตุการณ์น่ะค่ะ แต่เอาเป็นว่า ตลอดสามปีมานี้ บ้านเราใช้รถค่อนข้างเปลือง มีหลายเหตุผลค่ะ เอาไว้แจงทีหลัง

ทั้งป้าลีและสามี ใช้รถทั้งหมด 5 คันในระยะเวลาสามปี ไม่นับรถบริษัทที่เอามาใช้(ของสามี) และแต่ละคันประสบการณ์ทั้งหนักหนาและหรรษาค่ะ

เริ่มกันที่ส่วนตัวของป้าลีซื้อรถสองคัน  เป็นรถเล็ก คันแรกซื้อเมื่อ ม.ค.ปี 2015
เป็น  Opel รุ่น corsa 1200 ซีซี ก็คือรถเล็กอ่ะนะแต่สี่ประตู  เป็นปี  2007 วิ่งประมาณ 120,000  ราคา ณ ตอนนั้นคือ 5,000 กว่าๆยูโร

ขอโทษค่ะ พอดีมีรูปเดียวในเครื่อง...เอาไว้หาเจอจะเอารูปมาเปลี่ยนใหม่ทีหลังค่ะ

คัน นี้ใช้อยู่ 11 เดือนเต็ม วิ่งร้อยกว่ากิโลเมตรจันทร์ถึงศุภร์ค่ะ   ได้ซ่อมครั้งเดียวประมาณ  500 ยูโรรวมค่าช่าง  และซื้อประกันปีละ เกือบๆ เจ็ดร้อยยูโร ประกันภัยไม่ถึงกับเต็มรูปแบบแต่เลือกที่จะคุ้มครองกระจกหน้ารถแตกน่ะค่ะ  (มีอุบัติเหตุครั้งเดียวคือ ชนกวางเมื่อเดือน พฤษจิกายน ตอนที่หมอกลงหนาและกวางวิ่งตัดหน้ากระชั้นชิน)
และภาษีปีละ สามร้อยกว่าค่ะ (ทั้งประกันและภาษีเลือกจ่ายปีละสองครั้ง และราคาต่างกันแค่ ห้ายูโรถ้าเลือกจ่ายครั้งเดียว)
และแหล่งซื้อขายหรือไปดูรถมือสอง ที่เยอะแห่งหนึ่งก็คือ Tuusula,Espoo
แต่เราสามารถเลือกดูได้จากทางเน็ตก่อนที่จะไปดูตัวจริงเสียงจริงได้ที่ เว็บไซด์

   https://www.autosalpa.fi/fi/autohaku/

  http://www.nettiauto.com/

ก็ยังมีอีกหลายเว็บไซด์ค่ะ (ถ้าเป็นเจ้าของขายเองจะอยู่เว็บไซด์นี้ค่ะ)

 http://www.tori.fi/



ส่วนเว็บไซด์ที่จะเช็คอะไหล่ในการซ่อมแล้วคำนวณค่าช่าง (ดูว่างบเราพอมั๊ยหรือถ้าจะซ่อมเองก็ได้ค่ะ)

http://www.motonet.fi/



คัน นี้ถือว่าใช้งานง่ายและเหมาะสมกับราคามาก ไม่ได้ต้องซ่อมเหมือนคันเก่าที่ผ่านมา (เป็นโชคชั้นหนึ่งค่ะ ถ้าซื้อรถมือสองแล้วไม่ต้องซ่อมมากมาย)

พอได้อายุครบจะปี ก็เกิดอาการ พัดลมไฟฟ้า ดังมากกว่าปกติ และเสียงเครื่องมันดังที่สายพาน เสียงตักๆๆๆ น่ะค่ะ(คงพอนึกออก)
ก็เลยได้เวลาเปลี่ยน ก่อนที่จะต้องซ่อมเยอะ
ก็ เสิรชหาได้มาคันนี้ค่ะ ไปดูอยู่หลายคันและลองขับ ปรากฏว่ามันไม่ถูกใจ เนื่องจากรถของฟินแลนด์ตอนหน้าหนาวและหิมะตกมันสำคัญและจำเป็นอย่างมาก (ถ้าเราไม่ได้ใช้รถเมล์หรือแทรม หรือรถไฟอ่ะนะ)

citroen รุ่น c4  1400 ซีซี และสี่ประตูระบบไฟฟ้า ปี 2009 วิ่ง 80,000
เจ้าของเดิมคนเดียว
ราคา 7,000 ถ้วนค่ะ ไม่ยอมลดราคาให้เลย
คันนี้อยู่ที่ เอสโปค่ะ เจ้าของให้มาขับก่อนได้ และจ่ายเงินทีหลัง(ป้าลีจ่ายอีกหนึ่งอาทิตย์ถัดมาค่ะ)

คัน นี้ถูกใจมากเพราะว่ามันขับแล้วนิ่งและทุกอย่างอยู่ในสภาพดีมากๆ นั่งข้างในแล้วกว้าง เบาะนั่งแล้วสบายหลังมากๆ หลายคันที่ไปลองบางครั้งถูกใจนะ แต่นั่งแล้วเบาะมันรู้สึกไงไม่รู้ ไม่ค่อยสบายหลัง

ทีนี้กรณีที่เราซื้อรถกับเต้นท์นะคะ ถ้ามีรายการที่ต้องซ่อมหลังจากนั้นไม่นาน เราสามารถขอเจรจาต่อรองกับทางเต้นท์ได้ว่าเค้าจะออกช่วยเท่าไหร่ ยังไง เพราะว่ากฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคของฟินแลนด์ค่อนข้างแอ็คชั่นค่ะ โทรกริ๊งค์เดียวเค้าจัดให้รวดเร็ว
(ต่อพรุ่งนี้ค่ะ ตอนนี้สามีรอดูหนัง)


เพิ่มเติมค่ะ
2017 ม.ค.

ได้คันนี้มาแทนค่ะ จนถึงปัจจุบัน 2018 มี.ค. เพราะว่า ปัญญาอ่อน คือ ขับไปสนามกอล์ฟ แล้วมันเคืองในอารมณ์ ต้องการคันใหญ่ขึ้น ใส่ถุงกอล์ฟ ตัวเองและลูกสาว เผลอๆ ลูกชายตามมาด้วย 
หรือไปสกีงี้  เซ็ตสกี กับผู้โดยสารที่นั่ง มันไม่พอกับพื้นที่... (ก็เหตุผลปัญญาอ่อน เชิญด่าได้เลยค่ะ คือป้าลีพูดตรงๆ เพราะมันทำตามอารมณ์จริงๆ ) 

 

โรงเรียนในฟินแลนด์ สำหรับเด็กที่พึ่งย้ายมาอยู่ฟินแลนด์ (ภาคปฐม)

ระบบโรงเรียนภาคปฐม ของเด็กที่พึ่งย้ายมาอยู่ฟินแลนด์
หมวดนี้จากประสบการณ์โรงเรียนของลูกสาว อายุ 8 ขวบ(นางย้ายมาอยู่กับแม่ตั้งกะปีที่แล้ว )
ที่ ฟินแลนด์มีระบบการเรียนการศึกษาดีที่สุดอันต้นๆของโลกอย่างที่เราทราบกันดี อยู่แล้วนั้น วันนี้มามาแฉกันค่ะ ว่าสมคำล่ำลือแค่ใหน ประการใด

ณ ตอนที่ลูกสาวเรียนจบ ป.2 จากเมืองไทย (จบตอน เจ็ดขวบ เพราะนางเรียนเร็วหนึ่งปี) นางก็ย้ายมาอยู่ที่นี่และ ไปสอบเข้าโรงเรียนอินเตอร์ของจังหวัด วานต้า สอบไปสองโรงเรียน ในตอนแรก แต่นางติดสำรอง

โรงเรียนแรกขอสอบเข้าเกรด 2 เนื่องด้วยอายุของนางไม่ผ่านเข้า เกรด 3 ได้ 

โรงเรียน ที่สอง สอบเข้าเกรด 3 เพราะแม่ไปนั่งเถียงเอากับครูผู้รับผิดชอบ ว่านางจบ ป.สองจากไทยแล้วจริงๆ(ไม่มีเอกสารใดๆ จากโรงเรียนในไทยมาประกอบนะคะ เพราะตอนมานางแค่มาเที่ยว แล้วตัดสินใจอยู่ต่อหลังจากนั้น ก็เลยไม่ได้เตรียมเอกสารจากโรงเรียนของนาง ที่เมืองไทยแต่อย่างใด)

การเรียน ก่อสร้าง ประเทศ ฟินแลนด์


ประสบการณ์ เรียนช่างก่อสร้าง (สาขาหลัก) ฟินแลนด์
Rakennusala Perustutkinto (Stadin ammattiopisto,Helsinki)


พูด ถึงการเรียนก่อสร้างไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องแปลกอะไร ใครๆก็เรียนได้ แต่ที่แปลกและใหม่คือ เป็นการเรียนก่อสร้างในฟินแลนด์ (เฮลซิงกิ) ซึ่งเป็นประเทศที่แตกต่างจากอาชีพก่อสร้างที่เมืองไทย(อย่างไรนั้น มาว่ากันค่ะ) และที่สำคัญเรียนในหลักสูตรภาษาฟินแลนด์

และที่แปลกถัดมาคือ มันของใหม่ซิงๆ สำหรับป้าลีมากกกกก 

วันนี้ ป้าลีมาเล่า(หรือระบายน่ะแหละ) ว่าทำใมด้วยวัยขึ้นเลข 4 แล้วทำใมมาแบกหามอยู่ต่างแดน (จากปริญญาโท นิด้า และทำงานด้านตลาดลงทุนแห่งประเทศไทย)

การเรียนของป้าลีเป็นการเรียน เฉพาะทาง  ด้านก่อสร้างสาขาหลัก นั่นก็คือ  เรียนการก่อสร้างทั้งหมด ตั้งแต่ เขียนแบบ,โครงสร้าง,เลยไปถึงการสร้างบ้านทั้งหลัง ทั้งแบบไม้ แบบคอนกรีต งานตกแต่งด้านใน ปูกระเบื้อง และทำห้องน้ำ ห้องซาวน่า  เออ ก็ทั้งหมดแหละนะ (ก่อสร้างบางสาขาเค้าสามารถแยกไปเรียนสาขาเฉพาะทางได้ เช่นจะเป็นงานไม้ก็ทำเฉพาะทางเรื่องการไม้ไปเลย ทาสีก็ทาสีไปเลย หรือจะปูกระเบื้องและงานเกี่ยวกับหิน ก็ลึกลงไปในสาขานั้นๆ แต่ของป้าลีสาขาหลัก คือเรียนทั้งหมดของตัวบ้านทั้งหลัง เคนะจ๊ะหลานๆ)

ในหลักสูตรนี้ต้องมีการฝึกงานสลับกับการเรียนทั้งภาคปฏิบัติและแก้ไขปัญหาก่อนไปต่อที่งานซ่อมแซม (ประมาณนั้นนะคะ)

พาลูกมาอยู่ฟินแลนด์ และเมื่อลูกอายุเกิน 18 ปี

เงินค่าห้องและเงินช่วยเหลือผู้ที่อายุเกิน 18 ปี (ประเทศฟินแลนด์)

เคส นี้เป็นลูกชายป้าลี ที่ติดตามป้าลีมาอยู่ฟินแลนด์ เมื่อเดือน มี.ค. 2015 ที่ผ่านมานี้... เนื่องด้วยตามกฏหมาย เด็กสามารถติดตามมารดามาอยู่ฟินแลนด์ได้ ถ้าอายุไม่เกิน  18 ปี ถ้าเกินจะถือว่าเป็นผู้ใหญ่ ไม่สามารถขอเรสซิเดนซ์เปอมิทได้ ที่ใครๆ ก็บอกว่า ถ้าจะเอาลุกมาอยู่ฟินแลนด์ อย่าให้เกินอายุ  18 ปี เหตุผล ตามนี้ค่ะ

เคสนี้ลูกชายป้าลีไม่ยอมมาตั้งกะแรก ทำยังไงเค้าก็ไม่ยอมมา ครั้งแรกที่เดินเรื่องมาและซื้อตั๋วเครื่องบิน ถึงเวลามันก็โดดเครื่องบิน ไม่ยอมขึ้นเครื่องซะงั้น...

ทำใมเด็ก อายุเกิน  18 ปีแล้วยุ่งยากในการจะอยู่ฟินแลนด์ได้ เพราะว่า ถ้าอายุเกินเค้าจะถือว่าเคสเป็นผู้ใหญ่ ถ้าจะอยู่ฟินแลนด์ได้ต้องมีเหตุผลประกอบ เช่น

แต่งงานมั๊ย
นักเรียนหรือเปล่า
ทำงานหรือไม่
ถ้าจะอยู่แบบเกษียณแล้วมีเงินพอยังชีพหรือไม่

ตาม นั้นค่ะ ถ้าใช้เหตุผลใหนในการขอวีซ่า ก็ต้องยื่นเอกสารตามหัวข้อ.... (ถ้าเป็นนักเรียนก็ขอวีซ่านักเรียน ก็ต้องแสดงเอกสารการเป็นนักเรียนของเรา ถ้าแต่งงาน ก็เอกสารตามที่หลายคนทราบเกี่ยวกับการแต่งงาน หรือทำงานก็ต้องมีสัญญาจ้างจากนายจ้าง แบบนี้อ่ะค่ะ)

ดังนั้นเด็กๆ ที่คุณแม่คิดว่าจะพามาอยู่ฟินแลนด์และได้สวัสดิการตามสิทธิ ก็ต้องอายุไม่เกิน  18 (ต้องขอก่อน เผื่อเวลาในการขอวีซ่าด้วยนะคะ เคสลูกชายป้าลี เฉียดฉิวมากเพราะว่า เค้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวและมาต่อเป็นเรสซิเด้นซ์เปอมิท ณ ตอนที่ถึงฟินแลนด์แล้ว และต้องยื่นสมัครนานหลายเดือน กว่าจะได้วีซ่าก็เกือบเกิน  18 ปีล่ะนะ)

มาถึงแล้วทำไง ปัญหาวัยรุ่นคือ เคสบางเคสเค้าอยู่ร่วมบ้านกับเราไม่ได้ เพราะว่าเค้าเป็นวัยรุ่นและเป็นผู้ใหญ่แล้ว เด็กเกือบ  18 ของฟินแลนด์ส่วนใหญ่ออกไปอยู่ข้างนอกกันไม่ยอมอยู่กับพ่อแม่ เพราะเค้าต้องการอิสระในการใช้ชีวิต กอปรกับ บ้านเล็ก ห้องนอนไม่พอ ต้องเดินมองหน้าฝรั่งที่บ้านทุกวัน น้องสาวลูกติดแม่อีกคนก็อยู่ด้วยที่นี่ ดังนั้นอัดกันเป็นปลากระป๋อง ปัญหามันก็เกิด บ้านใหนบ้านนั้นค่ะ ปัญหาเกิดทุกบ้านเพราะพื้นที่มันแคบ แต่คนมันเยอะ นี่นับแค่คนฝ่ายเรานะคะ ยังไม่นับคนฝ่ายทางฝรั่งค่ะ..

การขอสัญชาติ ประเทศฟินแลนด์

ซิตี้เซ่น ประเทศ ฟินแลนด์
ขอขอบพระคุณพี่ไตน่า ล่ามที่เป็นที่รักและนับถือของชาวไทยในฟินแลนด์ ที่ได้แนบลิ้งค์มาประกอบค่ะ

 http://www.migri.fi/finnish_citizenship/applying_for_citizenship/requirements/residence_period

และลิ้งค์เรื่องการสอบภาษาฟินน์ค่ะ เพื่อขอสัญชาติค่ะ ตามนี้ค่ะ

 http://www.migri.fi/finnish_citizenship/applying_for_citizenship/requirements/language_skills/national_foreign_language_certificate



เนื้อหา หลักๆ ในกรณีที่เคสทั่วไป คือ แต่งงานแบบจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ตาม กับชาวฟินแลนด์และคนที่ไม่ใช่ฟินแลนด์แต่ได้ซิตี้เซ่นฟินแลนด์แล้ว
และต้องอยู่อาศัยในฟินแลนด์ครบ สี่ปี  ตลอดทั้งใช้เรสซิเด้นซ์เปอมิทครอบครัวอย่างต่อเนื่อง

(เคสที่ใช้วีซ่าประเภท B หรือ กรณีที่มีเรสฯ ที่ไม่ใช่เรื่องการแต่งงานน่ะค่ะ จะมีข้อจำกัดนะคะ ให้อ่านรายละเอียดอีกรอบก็แล้ว)
(เคสที่ไม่ได้แต่งงานและอยู่กินฉันสามีภรรยากับคนฟินแลนด์หรือคนที่เป็นซิตี้เซ่น ก็นับเวลาอาศัยอยู่ในฟินแลนด์แตกต่างออกไปค่ะ)

เคสเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีที่อาศัยอยู่ในฟินแลนด์พร้อมบิดาหรือมารดาก็ให้ยกเป็นกรณีอื่นเช่นกันค่ะ

ชีวิตในฟินแลนด์ มุมหนาวที่สวยงาม

ฟินแลนด์ กับมุมเล็กๆ ที่อยากเล่าสู่กันฟัง






ประเทศฟินแลนด์ ประเทศน้ำแข็ง ทุกคนทราบดี แต่ในความเป็นฟินแลนด์นั้นก็มีเสน่ห์มากมาย ที่อยากเล่า  อยากอวด





อย่าง เช่น..ที่แห่งนี้ เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีความสวยงาม แตกต่างจากเมืองเฮลซิงกิ แต่สไตล์ความสวยงามก็ยังคงความเป็นฟินแลนด์ได้อย่างลงตัว







หลาย คนมองฟินแลนด์แบบหนาวเหน็บ อยู่ไปได้ยังไง ทั้งหนาวทั้งมืด อาหารการกินก็ลำบากเพราะว่าหาของกินยาก ไม่มีขาย ถึงมีก็แพงมาก เพราะผลิตเองไม่ได้ เช่นผักหรือผลไม้หลายอย่าง ต้องนำเข้าสถานเดียว

แต่สำหรับป้าลี ความสวยของฟินแลนด์ก็คือเสน่ห์ที่เป็นเสมือนแม่เหล็กใหญ่ดึงดูดใจ