วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

การเรียน ก่อสร้าง ประเทศ ฟินแลนด์


ประสบการณ์ เรียนช่างก่อสร้าง (สาขาหลัก) ฟินแลนด์
Rakennusala Perustutkinto (Stadin ammattiopisto,Helsinki)


พูด ถึงการเรียนก่อสร้างไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องแปลกอะไร ใครๆก็เรียนได้ แต่ที่แปลกและใหม่คือ เป็นการเรียนก่อสร้างในฟินแลนด์ (เฮลซิงกิ) ซึ่งเป็นประเทศที่แตกต่างจากอาชีพก่อสร้างที่เมืองไทย(อย่างไรนั้น มาว่ากันค่ะ) และที่สำคัญเรียนในหลักสูตรภาษาฟินแลนด์

และที่แปลกถัดมาคือ มันของใหม่ซิงๆ สำหรับป้าลีมากกกกก 

วันนี้ ป้าลีมาเล่า(หรือระบายน่ะแหละ) ว่าทำใมด้วยวัยขึ้นเลข 4 แล้วทำใมมาแบกหามอยู่ต่างแดน (จากปริญญาโท นิด้า และทำงานด้านตลาดลงทุนแห่งประเทศไทย)

การเรียนของป้าลีเป็นการเรียน เฉพาะทาง  ด้านก่อสร้างสาขาหลัก นั่นก็คือ  เรียนการก่อสร้างทั้งหมด ตั้งแต่ เขียนแบบ,โครงสร้าง,เลยไปถึงการสร้างบ้านทั้งหลัง ทั้งแบบไม้ แบบคอนกรีต งานตกแต่งด้านใน ปูกระเบื้อง และทำห้องน้ำ ห้องซาวน่า  เออ ก็ทั้งหมดแหละนะ (ก่อสร้างบางสาขาเค้าสามารถแยกไปเรียนสาขาเฉพาะทางได้ เช่นจะเป็นงานไม้ก็ทำเฉพาะทางเรื่องการไม้ไปเลย ทาสีก็ทาสีไปเลย หรือจะปูกระเบื้องและงานเกี่ยวกับหิน ก็ลึกลงไปในสาขานั้นๆ แต่ของป้าลีสาขาหลัก คือเรียนทั้งหมดของตัวบ้านทั้งหลัง เคนะจ๊ะหลานๆ)

ในหลักสูตรนี้ต้องมีการฝึกงานสลับกับการเรียนทั้งภาคปฏิบัติและแก้ไขปัญหาก่อนไปต่อที่งานซ่อมแซม (ประมาณนั้นนะคะ)

ที่ แปลกใหม่อีก คือ การก่อสร้างที่นี่เป็นประเทศเมืองหนาว เทคนิคและการก่อสร้างจึงแตกต่างจากเมืองไทย และการเรียนในประเทศยุโรป ก็แตกต่างในเรื่องของความทันสมัยที่สะดวกสบายในเครื่องมือและ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ทั่วถึงมือผู้เรียน  เน้น ค่ะว่าทั่วถึงมือนักเรียนทุกคน (ในเมืองไทยเทคโนฯ ใหม่ๆก็ดีและดีกว่าที่นี่ อันนั้นไม่เถียงค่ะ แต่มันไม่ถึงมือนักเรียนน่ะค่ะ...นี่คือประเด็น)

ความยากของการเรียนสาขานี้ของป้าลี มี 2 อย่างที่ใหญ่หลวงมากๆ นั่นคือ

1.เรียนในภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเรียนร่วมกับนักเรียนชาวฟินแลนด์
2.เรียนกับนักเรียนรุ่นลุกรุ่นหลาน (มันยากยังไง มาว่ากันค่ะ ป้าจะเล่าให้ฟัง)

เรื่อง ภาษาฟินน์มันเป็นปัญหาโลกแตก ที่ดับฝันคนไทยในฟินแลนด์มาหลายร้อยรายแล้วก็ว่าได้ ที่นี้เวลาเรียนเนี่ย เค้าสอนในระดับของการสอนคนฟินแลนด์น่ะค่ะ ดังนั้นเค้าจะพูดเร็วและใช้ภาษาพูด เช่น พวกตัวเลข เค้าจะพูดกันสั้นๆ และเร็วๆ ซึ่งแตกต่างไปจากที่เราเรียนในตำรา(ภาษาพูดก็ต้องเรียนแตกต่างออกไป) 

ป้า ลีจะมีปัญหาสุดๆ เพราะเรียนช่างเค้าจะใช้ตัวเลขกันทุก 5 วินาที เช่น การเขียนแบบ การทำงานตามแบบ ตัดไม้ วัดระยะ  ตัวเลขทั้งนั้น... โอ๊ย เคลียดมาก

ส่วนเรื่องอายุ มันลำบากตรงใหนใครๆก็รู้ว่า การเรียนไม่มีจำกัดเรื่องอายุ เพศ  แต่... ความจริงแล้ว มันลำบากแบบนี้ค่ะ

เรา อายุขึ้นเลข 4 ปุ๊บ แต่เรียนร่วมกับเด็กรุ่นลุก 17-18 ปีและจะมี แค่  2-3 คน ที่อายุ  26-28 ปี(ในห้องมี  13 คนค่ะ และมาบ้างไม่มาบ้าง ดังนั้น แต่ละวันจะเรียนกันประมาณ ไม่ถึงสิบคน)

มันลำบากตรงที่ด้วยวัยและวัฒนธรรมที่แตกต่างด้วย (คนละรุ่นด้วย) ทำให้ต้องปรับตัวมากขึ้นไม่ใช่แค่เรื่องภาษาเท่านั้น

ป้าลีเรียกว่ามันต้องใช้ความกล้า ระดับสูงทีเดียวที่จะ พาตัวเองไปสู่สังคมรายล้อมแบบนั้นในระยะเวลา  2-3 ปี

เพราะ ถ้าเป็นคนทั่วไป เค้าก็จะอยู่ในกลุ่มไม่ได้ เพราะมันทำให้เรารู้สึกว่า เอ๊ะ เรามาตั้งต้นอะไรกับเด็กเหล่านี้เนี่ย  ชีวิตเราเดินมาไกลแล้วนะ ทำใมต้องมาเรียนใหม่ อะไรตรงนี้ด้วย เราจบปริญญาโท นิด้าและทำงานทั้งด้านการลงทุนและด้านการตลาด ในด้านการตลาดเราเป็นผู้จัดการระดับสุงแล้วนะ บริหารคนและทีมเยอะ

แต่เชื่อมะ.... ใน หลายคนที่วัยเดียวกันนี้ เค้าจะรับไม่ได้กับการที่ต้องหยุดอะไรบางอย่างในชีวิต เช่น หยุดงานที่ทำมาตลอด  20 ปี แล้วมาลงเรียนใหม่ ก้าวแรกเลย ณ จุดนี้ คุณนึกออกใช่มั๊ยคะว่ามันยากที่จะปรับใจให้ยอมรับได้ แล้วไม่ใช่แค่ 3-6 เดือนด้วยนะ แต่มันต้อง เกือบ 3 ปีเลยล่ะ 

นอกจากความกล้าหาญ ที่ยิ่งใหญ่ที่เราต้องทุบทางเดินตัวเองแล้วเราต้องมีความบ้าระดับเทพ ไม่ใช่แค่ลูกเทพด้วย ต้องระดับพ่อเทพแม่เทพ เลยทีเดียว ไม่งั้นพาตัวเองไปโรงเรียนไม่ถึง  2-3 ปีแน่

ด้านความยากด้านอื่น มันก็มีอยู่แล้ว เช่น ด้วยความที่ทำงานด้านการตลาดเราจะหิ้วปากไปทำงานเท่านนั้น ส่วนด้านการลงทุนที่เคยทำงาน ต้องใช้แค่ปากกา แต่นี้เต้องเปลี่ยนมาจับเครื่องตัดไม้ สว่านตัดเหล็ก เลื่อย ฯลฯ คุณว่ามันง่ายมะ ...


"จากสาวทำงานด้านเศรษฐกิจการลงทุนประเทศไทย  สู่แรงงานก่อสร้างประเทศฟินแลนด์)

แต่ถ้าถามว่า แล้วทำทำใม ถ้ามันยากขนาดนั้น?

"ต้องการใบอนุญาติด้านก่อสร้างและซ่อมแซม"

นึกออกแล้วนะคะ ว่าเป้าหมายของป้าลีคืออะไร   ไปหาสมัครงานเพราะช่างก่อสร้างหางานง่าย.... คุณคิดแบบนั้นจริงๆ หรือ?

เอาล่ะ ...ย้ายไปหัวข้ออื่นๆกันค่ะ

หลัง จากสุ้รบปรบมือกับการสอบเข้า(สอบภาษาฟินน์ ทั้งข้อเขียนและสัมภาษณ์) ป้าลีก็สอบไม่ได้หรอกนะคะ สอบมาสามครั้งและในการสอบแต่ละครั้งก็มีพาร์ทใดพาร์ดหนึ่งที่ไม่ผ่าน (สอบเข้าในสาขาออกแบบและต่อเติม) 

อ้าว...เข้าเรียนได้ไงล่ะป้า?

อันนี้ชาวไทยทุกคนต้องอ่าน ถ้าคิดจะอยู่ฟินแลนด์

ด้วย ความที่เราเป็นศิษฐ์เก่าของสถาบันที่เราเรียนอยู่ตรงนั้น MAVA ซึ่งเป็น มาว่ะ สาขาก่อสร้าง  เค้าเลยจับเราต่ออัมมัตติ ของสถาบันที่เราอยู่นี่แหละค่ะ(ที่จริงเค้าช่วยค่ะ อิอิ ไม่ได้จับหรอก)  นั่นก็คือ ก่อสร้าง(แต่เราต้องการเรียนออกแบบและต่อเติมในตอนแรกอ่ะนะ ที่สอบไม่ผ่านน่ะค่ะ สอบในสถาบันในเฮลซิงกิทุกสถานบันที่เปิดสอน)

(ใคร ที่ไม่ได้ตามอ่านหลักสูตรมาว่ะ ที่ป้าลีเขียน   ก็คือ MAVA  มันมีหลายสาขาไม่ใช่แค่จะเรียนภาษาฟินน์อย่างเดียวนะคะ ป้าลีใช้หลักการเดียวกันนี้ ณ ตอนที่ได้ อัมมัตติปีแรกที่เข้ามาอยู่ฟินแลนด์เช่นกัน นั่นคือ จังหวัด ยุวาสกูล่ะ เค้าจะจับเราต่ออัมมัตติของสถานบันเค้าถ้าเราสามารถ พาตัวเองไปเรียนหลักสูตรระยะสั้นของเค้าก่อนหน้าที่จะต่ออัมมัตติได้ เค้าจะไม่ปล่อยเราออกมาเดินเล่นหาที่เรียนข้างนอกหลังจบหลักสูตระยะสั้นของ เค้าและถ้าเราหาสอบที่ใหนไม่ได้ นึกภาพออกใช่ป่ะคะ?  ดังนั้นหน้าที่คุณคือ.... ก่อนจะไปเรียนภาษาฟินน์ หรือหลักสูตรระยะสั้นอะไรให้คิดถึง ก้าวถัดไปด้วยว่าถ้าเราสอบเข้าที่ใหนไม่ได้ เราก็ยังมีโอกาสได้เรียนในสถาบันเดิม ดังนั้นเค้าสอนอะไรในสถาบันนั้นๆ  ดูก่อนค่อยก้าวไปเรียนหลักสูตรระยะสั้นของเค้า เคนะคะ ตามนั้น)

พอเปิดเทอมวันแรก ก็จะเข้าไปเลือกไซด์เสื้อผ้า และรองเท้าเซฟตี้ (ฟรีค่ะ) 

เลือกไซด์เสร็จเค้าก็จะเอาไปปักชื่อสถาบันที่ชุดน่ะค่ะ (ชุดที่ได้เป็นสีส้ม)

การเรียนอัมมัตติที่นี่(ตั้งกะหลักสูตร  MAVA แล้ว) เค้ามีอาหารกลางวันฟรี อุปกรณ์การเรียนฟรีทุกอย่าง แบกหน้าไปเข้าห้องเรียนพอ

และ จะต้องถ่ายรุปติดบัตร พร้อมทั้งรับกุญแจทั้งแบบอ่านโค๊ดและกุญแจห้องล็อคเก้อร์ของสาวๆ  และกุญแจประตูที่ต้องผ่านโค๊ดนั้นสามารถเข้าออกได้ทุกประตูโรงเรียน (นั่นคือคุณเข้ากี่โมงออกกี่โมงและไปเดินเล่นอะไรในห้องใหน เค้ารู้หมด ดังนั้นอย่าได้คิดจะหยิบจับอะไรไปเด็ดขาด)

ต่อเพจหน้าค่ะ มือเริ่มหงิกจากการพิมพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น