วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

โรงเรียนในฟินแลนด์ สำหรับเด็กที่พึ่งย้ายมาอยู่ฟินแลนด์ (ภาคปฐม)

ระบบโรงเรียนภาคปฐม ของเด็กที่พึ่งย้ายมาอยู่ฟินแลนด์
หมวดนี้จากประสบการณ์โรงเรียนของลูกสาว อายุ 8 ขวบ(นางย้ายมาอยู่กับแม่ตั้งกะปีที่แล้ว )
ที่ ฟินแลนด์มีระบบการเรียนการศึกษาดีที่สุดอันต้นๆของโลกอย่างที่เราทราบกันดี อยู่แล้วนั้น วันนี้มามาแฉกันค่ะ ว่าสมคำล่ำลือแค่ใหน ประการใด

ณ ตอนที่ลูกสาวเรียนจบ ป.2 จากเมืองไทย (จบตอน เจ็ดขวบ เพราะนางเรียนเร็วหนึ่งปี) นางก็ย้ายมาอยู่ที่นี่และ ไปสอบเข้าโรงเรียนอินเตอร์ของจังหวัด วานต้า สอบไปสองโรงเรียน ในตอนแรก แต่นางติดสำรอง

โรงเรียนแรกขอสอบเข้าเกรด 2 เนื่องด้วยอายุของนางไม่ผ่านเข้า เกรด 3 ได้ 

โรงเรียน ที่สอง สอบเข้าเกรด 3 เพราะแม่ไปนั่งเถียงเอากับครูผู้รับผิดชอบ ว่านางจบ ป.สองจากไทยแล้วจริงๆ(ไม่มีเอกสารใดๆ จากโรงเรียนในไทยมาประกอบนะคะ เพราะตอนมานางแค่มาเที่ยว แล้วตัดสินใจอยู่ต่อหลังจากนั้น ก็เลยไม่ได้เตรียมเอกสารจากโรงเรียนของนาง ที่เมืองไทยแต่อย่างใด)


ครู ก็ให้สอบเข้าเกรด 3 แต่ว่าติดสำรองเช่นกัน ครูบอกตรงๆ ว่าที่ต้องให้ติดสำรองคือ คณิตศาสตร์นางเจ๋งมาก แต่ว่าภาษาอังกฤษยังไม่สามารถคล่องพอจะเรียนเกรด3 ของโรงเรียนได้ และต้องการรับนักเรียนที่มีที่อยู่ในเขตของจังหวัดวานต้าก่อน แล้วถึงจะรับเด็กที่อยู่จังหวัดอื่น....

พอทราบผลว่าติดสำรอง แม่พานางไปสอบเข้า โรงเรียนอังกฤษของเฮลซิงกิ ในเกรด 2 เหตุผลเดิมคือ ทางโรงเรียนไม่สามารถรับนางเข้าเกรดสามได้เนื่องจากอายุไม่ถึง (ณ ตอนนั้น นางยังไม่ถึง แปดขวบดี)

ระหว่างที่รอผล จึงให้ลูกเข้าโรงเรียนระบบของฟินแลนด์และเข้าโรงเรียนที่ภาครัฐจัดให้ สำหรับเด็กๆ จากชาติอื่นที่พึ่งย้ายมาอยู่ฟินแลนด์ และพูดภาษาฟินแลนด์ยังไม่ได้ ชื่อว่า ตุ้ สุ ล่า Tuusula  ซึ่งห่างจากบ้านครึ่้งชั่วโมงจากการขับรถที่จำกัดความเร็วไม่เกิน 60  แต่ว่าทางรัฐจัดรถรับส่งส่วนตัวให้ คือรับจากบ้านถึงโรงเรียนและ รับจากโรงเรียนถึงบ้าน ตามตารางเวลาเรียนของโรงเรียน

ระบบการเรียน ที่ตู้ ซู ล่ะ  จะเรียนเพียงแค่ครึ่งวันสำหรับ เด็ก เกรดหนึ่งและเกรดสอง และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ค่ารถรับส่งส่วนตัวก็ฟรี อาหารกลางวันก็ฟรีค่ะ เป็นบุปเฟ่

นางไปเรียนอยู่ เดือนกว่าๆ นางบ่นทุกวันว่าไม่มีเพื่อนเลย ไม่มีใครมาเล่นด้วย เพราะนางพูดภาษาฟินยังไม่ได้ มีเพื่อนแค่คนเดียวที่โรงเรียนที่พอจะพูดภาษาอังกฤษได้หลายคำ แต่เพื่อนคนนี้ก็ขาดเรียนบ่อย วันใหนชีไม่มาก็ไม่มีเพื่อน
บางทีนางก็บ่นว่าไม่อยากไปโรงเรียนเพราะเหงา และไม่ชอบตอนเบรคเพราะต้องเล่นคนเดียว

ยัง จากห้าอาทิตย์ ได้รับการติดต่อจากโรงเรียนอังกฤษของเฮลซิงกิ ชื่อ  The English School of Helsinki  ซึ่งเป็นโรงเรียน International Examinations ของ University of Cambridge จาก ประเทศอังกฤษ ประจำกรุงเฮลซิงกิ ว่านางสอบเข้าเกรดสองได้แล้ว ให้เข้าไปเรียนได้เลย

http://www.eschool.edu.hel.fi/classes_1-9/cambridge.html

โรงเรียนนี้ เสียค่าสอบ  60 ยูโร และค่าสมาชิก 50 ยูโรต่อปี  ส่วนค่าเทอม เสียปีละ  635 ยูโร มีสองเทอมค่ะ(เทอมละ 300 กว่ายูโร) เทอมฤดูใบไม้ร่วงกับฤดูใบไม้ผลิ(ปิดซัมเมอร์นั่นเอง ปิดนานถึง เกือบ สามเดือน)  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไม่มีค่ะ อาหารกลางวันฟรี และเริ่ดมาก ดีกว่าโรงเรียนแรกที่นางไปเรียน

ส่วนการเรียนการสอน จะเรียนสองภาษาคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฟินแลนด์ด้วย แต่ภาษาที่ใช้เป็นหลักคือ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาฟิน จะเรียนทุกวัน วันละ หนึ่งคาบ  หนังสือตำราฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

โรงเรียนนี้ส่วนตัวแล้ว ป้าลีชอบมาก เพราะครูสอนดีมาก ระบบจะแปลกจากโรงเรียนที่ไทย ตรงที่ในแต่ละเทอมเค้าจะเรียกนักเรียนและผู้ปกครองมาออกแบบหลักสูตรของตัว เอง ว่าต้องการเรียนอะไรเพิ่มเติมบ้างในเทอมถัดไป

ก็คือ จับกลุ่มกันเขียนว่าเด็กๆ ต้องการอะไร (ให้คิดเอง) เสร็จแล้วไปลงคะแนนว่าหัวข้อใหนกองเชียร์เยอะ ก็ถูกบรรจุลงในหลักสูตร

นาง ต้องการเรียนคณิตกับ ภาษาอังกฤษเพิ่ม ให้เหตุผลในห้องว่า คณิตต้องใช้ทุกวันในชีวิตประจำ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นเวลาไปเที่ยวประเทศอื่นเค้าไม่มีพูดภาษาฟินน์ (แม่แอบยิ้ม เพราะนางเอาประสบการณ์จริงของนางมาคิด)

การเรียนของ เด็กที่นี่ จะเรียนไม่เยอะ การบ้านน้อย ทุกๆวันศุกร์ไม่มีการบ้านเลย ครูจะพาเดินออกข้างนอก เช่น ไปสวนสาธารณะ ไปเดินป่า(ที่ยังพอจะมีบ้างในเฮลซิงกิ) เพื่อฝึกเด็กคุ้นเคยกับชีวิตประจำวัน  มีว่ายน้ำ ไปดุหนัง หรือปิกนิคกับทางโรงเรียน

แต่...


เรื่อง การเรียนของโรงเรียนที่นี่ จะมอบหมายงานให้รับผิดชอบค้นคว้าเอง เช่น ให้หัวข้อการหาหนังสืออ่านเกี่ยวกับอะไรต่างๆ มา  15 หัวข้อ ต้องไปหาอ่านเอง ทั้งสองภาษา กลายเป็น  30 เล่ม  เสร็จแล้วรวบรวมประสบการณ์การอ่าน ออกมาเขียนสรุปเป็นหนังสือของตัวเองแล้วส่งครู พร้อมรายชื่อหนังสือที่ผ่านมาทั้งหมด ใครแต่ง ชื่ออะไร ชื่อหนังสืออะไรด้วย (นี่คือเด็ก เกรดสองนะคะ)

เมื่อเขียนแล้ว ให้ออกไปนำเสนอหน้าห้อง ใน ภาษาอังกฤษหรือภาษาฟินน์ก็ได้ เลือกเอาว่าจะภาคนิทานของตัวเองในภาษาอะไร

งานที่มอบหมายแบบนี้ มีระบุระยะเวลา สองเดือนค่ะ... ให้เสร็จและต้องส่งงานด้วย

การ เรียนแบบนี้ เริ่มตั้งแต่ เกรด หนึ่งค่ะ ... พอขึ้นเกรดสาม เด็กๆ จะต้องเข้าคอมพิวเตอร์เอง เขียนรายงานเองในคอมฯ พริ้นต์เอง หาข้อมุลหนังสือเอง ไรงี้


และ ระบบการเรียนที่นี่ ทุกโรงเรียนจะใช้การสื่อสารระหว่างครูและผู้ปกครอง ผ่านทางเว็บส่วนตัวและ รหัสส่วนตัวแก่ผู้ปกครอง รวมทั้ง เด็กๆ จะมีรหัสผ่านส่วนตัวเพื่อล็อคอินเข้าไปดูว่า โปรแกรมอาทิตย์หน้า ต้องเรียนอะไร ศัพธ์คำใหน

คือให้เตรียมตัวล่วงหน้า และการบ้านอะไร ระบบนี้ เรียกว่า  wilma  แต่ละโรงเรียนจะมี วิลล่ะมาของตัวเอง ของใครของหล่อน และครูจะเห็นทุกวันว่า เด็กๆ เข้าไปดูการเรียนในเว็บทุกวันหรือเปล่า ผ่านทางล็อคอินนั่นเอง

เกรด หนึ่งและ เกรดสอง จะเรียนคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาฟินแลนด์ ศิลปะ พละ และวิชาหนึ่งที่แตกต่างจากบ้านเราโดยสิ้นเชิง... เรียกว่า .......'evs'

คือ วิชาที่เรียนแตกต่างกันในแต่ครั้ง...เช่น ต้องเข้ากลุ่มกับเพื่อนแล้วทำงานต่างๆ ที่กลุ่มต้องคิดขึ้นมาเอง เช่น ออกแบบการ์ตูน แล้วนำมาพรีเซ็นต์ร่วมกันหน้าห้อง  หรือ ประดิษฐ์อะไรบางอย่างร่วมกัน เช่น ปลูกมะเขือเทศด้วยกัน และต้องรักษาดุแลร่วมกันกับกลุ่มของตัวเอง หรือให้หาข้อมูลเกี่ยวกับ ภัยพิบัดต่างๆ พายุ น้ำท่วม หิมะตก ใหญ่ๆ ในโลก แล้วเขียนมาว่าเหตุเกิดที่ใหน ภัยอะไร ประมาณนี้น่ะค่ะ  หลักๆ วิชานี้ จะต้องคิดเองว่าต้องการจะสื่ออะไร ทำงานร่วมกันเกี่ยวกับอะไร แล้วนำไปเสนอหน้าห้องร่วมกัน

(แปลกๆ นะคะ แต่ว่ามันเวิร์คมากนะเออ)

ต่อภาคสองกับเพจหน้าค่ะ วันนี้ขอตัวไปนอนแล้วค่ะ

เพิ่มเติ่มข้อมูล ณ 12.1.2016

เมื่อ สัปดาห์ที่แล้ว ป้าลีได้ติดต่อสอบถามเลขาฯ ที่โรงเรียน กรณีเด็กจากประเทศอื่นจะขอมาทดสอบเพื่อเข้าเรียนที่นี่ต้องทำอย่างไร และสามารถขอวีซ่าท่องเที่ยวมาทดสอบได้หรือไม่?

คำตอบ คือ

ไม่ได้เพราะว่านโยบายที่นี่ เด็กที่จะทดสอบได้ต้องมีเรสซิเด้นท์เปอมิท ที่สามารถอยู่ฟินแลนด์ได้แบบถาวรแล้วเท่านั้น..
(ต้อง ติดต่อกับทางสถานทูตฟินแลนด์ ประจำประเทศไทย ถ้าต้องการขอวีซ่า เรสซิเด้นท์เปอมิท เพื่อพำนักในฟินแลนด์เป็นการถาวร หรือ วีซ่าระยะยาวนั่นเอง)

หรือถ้ากรณีมีเรสซิเด้นท์เปอมิทจากประเทศในโซน ยุโรป ขอให้ติดต่อโรงเรียนได้โดยตรงค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น